องค์ความรู้ด้านภูมิศาสตร์น้ำในประเทศไทยช่วงทศวรรษ 2010 - ปัจจุบัน : บทสำรวจผ่านกรอบแนวคิดด้านอุทกสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
นักภูมิศาสตร์มีส่วนในการผลิตองค์ความรู้เพื่อศึกษาน้ำที่เชื่อมต่อการสังเคราะห์ปรากฏการณ์ของมนุษย์กับลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตาม การศึกษาเชิงอุทกวิทยาครอบคลุมพื้นที่องค์ความรู้ด้านภูมิศาสตร์น้ำ แต่ยังไม่เห็นถึงการบูรณาการองค์ความรู้ด้านสังคมเท่าที่ควร บทความปริทัศน์ฉบับนี้จึงวิเคราะห์บทบาทของนักวิชาการที่นำองค์ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ไปใช้ในการวิจัยด้านน้ำจากการทบทวนบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (ThaiJo) จำนวน 52 บทความ ในช่วงทศวรรษ 2010 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้กรอบแนวคิดด้านอุทกสังคม (sociohydrology) ผลการศึกษาพบว่า นักวิชาการประยุกต์องค์ความรู้ด้านภูมิศาสตร์น้ำเพื่อวิเคราะห์กระบวนการทางอุทกวิทยาด้วยปัจจัยทางกายภาพและกิจกรรมมนุษย์ ผ่านการใช้หลักการและเครื่องมือทางภูมิสารสนเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลมหัต (big data) เพื่อสร้างแบบจำลองและส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานภาครัฐในการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงภัยพิบัติ โดยเฉพาะในหมู่นักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ ภูมิสารสนเทศ และสาขาอื่น ๆ ด้วยวิธีวิทยาแบบผสม แต่งานวิจัยที่สะท้อนแนวทางการวิจัยด้านน้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและในประเด็นเชิงจริยธรรมที่นำไปสู่ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ (IWRM) อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ถูกผลิตขึ้นโดยนักวิชาการสายอื่น ๆ มากกว่าที่นักภูมิศาสตร์และนักภูมิสารสนเทศ ในขณะที่องค์ความรู้ในแนวทางข้างต้นขาดความเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์กระบวนการทางอุทกวิทยาด้วยการใช้ข้อมูล บทความนี้จึงต้องการเน้นย้ำว่า นักภูมิศาสตร์และผู้ที่ใช้องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ในการวิจัยด้านน้ำ ควรเชื่อมโยงหลักการวิจัยเชิงอุทกสังคมทุกด้านเข้าด้วยกัน ด้วยความเป็นจุดเชื่อมต่อเชิงวิพากษ์ (critical connecting dots) ทางด้านภูมิศาสตร์น้ำ ที่ผสมผสานภววิทยา (ontology) และวิธีวิทยา (methodology) เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ของมนุษย์และลักษณะทางกายภาพ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคแอนโธรพอซีน (Anthropocene) อันส่งผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำในมิติเชิงพื้นที่และเวลา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ มะโนรมย์. (2559). ผู้หญิงลาวในพื้นที่ลุ่มน้ำเซบังไฟ ความเป็นชนพื้นเมือง การทับซ้อนของพหุอัตลักษณ์ ภูมิศาสตร์อารมณ์และผลกระทบจากเขื่อนน้ำเทิน 2. วารสารสำนักบัณฑิต อาสาสมัคร, 13(2), 1-45.
กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง, และ นพดล แก้วจันทร์. (2563). การสำรวจข้อมูลน้ำท่วมเบื้องต้นร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดทำแผนที่น้ำท่วมในตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, 10(1), 1-10.
กฤตวิทย์ หนูเพชร, และ พงศ์พล ปลอดภัย. (2564). การศึกษาพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเพื่อการป้องกันภัยพิบัติ กรณีศึกษา ลุ่มน้ำปัตตานี. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 2(2), 65-79.
กาญจนา มีจริง, สาวิทตรี ทองกุ้ง, และ ธงชัย สุธีรศักดิ์. (2562). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่รับน้ำ กรณีศึกษาพื้นที่ทางทิศใต้ของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 29(3), 372-387.
เกียรติกมล นิลาภรณ์กุล, และ ดนัย ทายตะคุ (2562). พลวัตน้ำหลากและนิเวศบริการของทุ่งน้ำหลากพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา กรณีศึกษาชุมชนลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สาระศาสตร์, 2, 256-270.
คมสัน ศรีบุญเรือง, มาลินี คําเครือ, และ พันธุ์ทิพา ใจแก้ว. (2565). การจัดทําแผนที่ความเสี่ยงภัยพิบัติด้านอุทกภัย ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ อําเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 55-74.
จักรพันธ์ นาน่วม, พงศกร อินถา, สราวุฒิ บุตรพรม, พีรพัฒน์ วงค์ราช, เจริญวุฒิ ตนคัมภีรวาท, และ ลิขิต น้อยจ่ายสิน. (2564). การประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินปริมาณน้ำที่ต้องการใช้เพื่อการเกษตร: กรณีศึกษาตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(4), 551-562.
จันทิรา รัตนรัตน์. (2561). ศักยภาพของพื้นที่สำหรับการปลูกข้าวและการปรับตัวของชาวนาจากปัญหาอุทกภัย ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร วิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 2(1), 54-62.
จุติมา สุตตเขตต์, และ ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ. (2563). การประเมินผลกระทบของน้ำท่วมฉับพลันต่อภาคการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 43(1), 195-217.
จุฬาวลี มณีเลิศ, และ พรวนา รัตนชูโชค. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(1), 104-113.
ชยา วรรธนะภูติ, และ รัตนาภรณ์ พุ่มน้อย. (2561). “โลกพันทาง” ของลุ่มน้ำ ปลา และผู้คน แห่งบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย: มุมมองเชิงภูมิศาสตร์มนุษย์. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 37(2), 129-160.
ชาญวิทย์ สายหยุดทอง, และ ณัฐวดี แย้มสาย. (2563). การจัดทำแผนที่ผู้ใช้น้ำด้วยสมาร์ทโฟน. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 11(22), 35-41.
ณัฐพงศ์ แก้วบุญมา, กุลธิดา ท้วมสุข, และ วนิดา แก่นอากาศ. (2556). ชุดข้อมูลแบบบูรณาการเพื่อการจัดการภัยแล้งของลุ่มน้ำชี. วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 11(1), 59-73.
ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์. (2555). สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานที่บางกอก. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย, 9, 316-343.
ดนุพล ตันนโยภาส, โรจนัจฉริย์ ด่านสวัสดิ์, และ เพ็ญประไพ ภู่ทอง. (2559). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อดินถล่มในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 24(2), 264-276.
ต้อง พันธ์งาม, ณภัทร น้อยน้ำใส, และ นิรันดร์ คงฤทธิ์. (2564). การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เขตลุ่มน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(2), 71-84. https://doi.org/10.14456/jra.2021.32
ทนงศักดิ์ เพ็งเพชร, อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง, สหลาภ หอมวุฒิพงศ์, และ สุดารัตน์ คำปลิว. (2557). การประเมินฝนจากเรดาร์ในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ไม่มีสถานีวัด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(12), 93-104.
ทนงศักดิ์ อะโน, รัตนา หอมวิเชียร, ณัฐวิทย์ จิตราพิเนตร, สุดารัตน์ คำปลิว, และ อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง. (2556). การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 6(2), 13-21.
ไททัศน์ มาลา, สุนทรชัย ชอบยศ, และ พิศาล พรหมพิทักษ์กุล. (2557). แนวทางในการจัดการอุทกภัย: กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 12(2), 77-105.
ธารารัตน์ พวงสุวรรณ, อุไรวรรณ บัวตูม, ไพฑูรย์ ศรีนิล, และ สุมิตร คุณเจตน์. (2565). การพัฒนาสารสนเทศภูมิศาสตร์ของแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสําหรับจังหวัดจันทบุรี ด้วยภาพถ่ายดาวเทียม. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 31(1), 57-72.
ธิดาภัทร อนุชาญ. (2562). การเปรียบเทียบวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างแผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมบริเวณเขตน้ำท่วมลุ่มน้ำย่อยคลองนาทวี จังหวัดสงขลา. วารสาร วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 29(4), 612-629.
ธิดาภัทร อนุชาญ, และ ณัฐริกา ทองจิต (2563). การสร้างแผนที่ความอ่อนไหวในการเกิดน้ำท่วม โดยใช้วิธีอัตราส่วนความถี่และดัชนีทางสถิติ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสาร วิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 1(1), 19-30.
ธิรพันธ์ จันทร์ทอง, และ สุวดี ทองสุกปลั่ง หรรษาสุขสิน. (2564). พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและมาตรการบรรเทาภัยในเขตเมืองนครศรีธรรมราช. สาระศาสตร์, 1, 250-262.
ธีรเวทย์ ลิมโกมลวิลาศ. (2560). บูรณาการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาระบบส่งนํ้าหยดเพื่อการเกษตร. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 16(2), 65-78.
นัฐศิพร แสงเยือน, และ ศนิ ลิ้มทองสกุล. (2564). ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนชานเมืองมหานครต่อความเสี่ยงของอุทกภัยในจังหวัดปทุมธานี. เจ-ดี: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 8(2), 75-99.
นาถนเรศ อาคาสุวรรณ. (2561). การศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและแนวทางป้องกันภัยแล้งในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 13(1), 55-80.
ปิยพงษ์ ทองดีนอก. (2559). การประมาณค่าปริมาณน้ำท่าโดยใช้แบบจำลอง SCS-CN ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบน. วารสารวนศาสตร์, 35(2), 110-121.
พงศ์พล ปลอดภัย, พรทิพย์ วิมลทรง, ธนา จารุพันธุเศรษฐ์, กานต์ธิดา บุญมา, และ บุษยมาศ เหมณี. (2563). เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 1(2), 59-69.
พรชัย เอกศิริพงษ์, และ สุเพชร จิรขจรกุล. (2557). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. Thai Journal of Science and Technology, 3(3), 148-159. https://doi.org/10.14456/tjst.2014.9
พลอยรำไพ แก้วแสงอ่อน, สุพรรณ กาญจนสุธรรม, แก้ว นวลฉวี, และ สมภพ อินทสุวรรณ. (2559). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคลองสำโรงจังหวัดสงขลา โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 172-188.
ภัคเกษม ธงชัย, และ ดนัย ทายตะคุ (2564). การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์พลวัตน้ำหลากในลุ่มแม่น้ำยม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านกง อ้าเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. สาระศาสตร์, 2, 341-357.
รัตนา ไกรนรา. (2562). ถอดบทเรียนการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต บ้านนาโหนด ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 15(1), 28-45. https://doi.org/10.14456/jem.2019.2
วนัชพร แมงสาโมง, และ อิมรอน หะยียูโซะ (2563). การประยุกต์ใช้แบบจำลองความสัมพันธ์ดินและน้ำในการประเมินปริมาณน้ำท่ากับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำบางนรา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(3), 229-244.
วรเมธ ศรีวนาลักษณ์, และ ดนัยทายตะคุ. (2562). การวิเคราะห์โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา. สาระศาสตร์, 2, 242-255.
วรวิทย์ ศุภวิมุติ. (2564). การวิเคราะห์ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิธีอัตราส่วนความถี่ และวิธีอัตราส่วนความถี่สัมพัทธ์ ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 20(2), 134-156. https://doi.org/10.14416/j.appsci.2021.02.011
วรวิทย์ ศุภวิมุติ, และ บรมศักดิ์ กลั่นเรืองแสง. (2565). การประเมินความอ่อนไหวต่อการเกิด น้ำท่วมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองดัชนีทางสถิติในลุ่มน้ำแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 4(1), 21-42.
วราภรณ์ ทนงศักดิ์, และ นารีมาน วิระสิทธิ์. (2565). ต้นแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการสนับสนุนการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยกรณีศึกษา พื้นที่ตําบลเชิงแส จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 212-226.
วิภพ แพงวังทอง, และ ภาคภูมิ ล้ำเลิศ. (2565). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อทําแผนที่ความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยาย้อนหลังในจังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 3(2), 26-36.
วิภพ แพงวังทอง, ภูวเนตร พลูคํา, และ ธํารงค์ สุวรรณรัตน์. (2564). การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการกำหนดระดับความรุนแรง ของการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนบน (พื้นที่รับน้ำฝนของกว๊านพะเยา). วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 2(3), 70-81.
ศศิธร เพียนเลิศ, ปิยพงษ์ ทองดีนอก, และ นฤมล แก้วจำปา. (2561). การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งโดยใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกลและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาบริเวณลุ่มน้ำสาขาเชิญ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(3), 67-83.
ศิริชัย ด้วงเงิน, วันชัย อรุณประภารัตน์, และ ปิยพงษ์ ทองดีนอก. (2564). การจําแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำในพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้รับการจําแนกโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ภูมิลักษณ์จากแบบจําลองความสูงเชิงเลขที่ต่างกัน. วารสารวนศาสตร์ไทย, 40(1), 108-122.
สิริกร ด้วงพิบูลย์, ธงชัย สุธีรศักดิ์, รวี รัตนาคม, และ วันจิตรา โต๊ะหวันหลง. (2561). การจำลองพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์อัตราส่วนความถี่ ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองหลังสวน ภาคใต้ ประเทศไทย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(2), 259-272.
สำราญ ผลดี. (2560). บางกอกในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์: วิถีริมน้ำของชาวสยามจากมุมมองของชาวตะวันตก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), 172-181.
สุขขี พรมพินิจ, จำนง วงษ์ชาชม, และ ศมณพร สุทธิบาก. (2561). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขาที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน ตำบลกกปลาซิว อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(68), 176-183.
สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย, แสงเพ็ชร พระฉาย, โกสินทร์ ชำนาญพล, เจษฎา รัตนสุพร, กริช กองศรีมา, ปริญญา ชินจอหอ, และ เบญจภัค จงหมื่นไวย์. (2564). ระบบฐานข้อมูลแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจากทรัพยากรน้ำด้วยสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชัน สําหรับเกษตรกร ยุคดิจิทัล 4.0. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 13-27.
อมรภัทร์ อูปแก้ว, อดุลย์ ทองแกม, สรรเพชญ เหล่าไพบูลย์, ปรีชา รุทรโสธร, นิตยา สุนทรสิริพงศ์, และ วนิดา ศรทิพย์. (2560). การศึกษาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 3(1), 139-149.
อรพินท์ เพชรสวนแตง, และ สุเพชร จิรขจรกุล. (2555). บูรณาการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (MUSLE) เพื่อประเมินการไหลบ่าและพัดพา ดินตะกอนในลุ่มน้ำอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. Thai Journal of Science and Technology, 1(2), 96-108. https://doi.org/10.14456/tjst.2012.12
อลิสา ตลึงผล, และ แก้วใจ สุวรรณเวช. (2555). ความรู้และการจัดการน้ำของชุมชนเชิงเขา: ศึกษาชุมชนบ้านวัดโคกโพธิ์สถิตย์ ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิชชา วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 31(1), 67-78.
อิลยาส มามะ. (2556). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(1), 124-138.
เอกพันธ์ มาเลิศ, และ เอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย. (2564). ผลิตภาพของน้ำเชิงพื้นที่สำหรับการปลูกข้าวในจังหวัดชัยนาท. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 27(1), 16-24.
Carey, S. K. (2017). Hydrology and water resources in Canadian geography. The Canadian Geographer, 53(4), 500-505. https://doi.org/10.1111/j.1541-0064.2009.00277.x
Di Baldassarre, G., Sivapalan, M., Rusca, M., Cadennec, C., Garcia, M., Kreibich, H., Konar, M., Mondino, E., Mård, J., Pande, S., Sanderson, M. R., Tian, F., Viglione, A., Wei, J., Wei, Y., Yu, D. J., Srinivasan, V., & Blöschl, G. (2019). Sociohydrology: Scientific challenges in addressing the sustainable development goals. Water Resources Research, 55, 6327-6355. https://doi.org/10.1029/2018WR023901
Karpouzoglou, T., & Vij, S. (2017). Waterscape: a perspective for understanding the contested geography of water. WIREs Water, 4, e1210. https://doi.org/10.1002/wat2.1210
Konar, M., Garcia, M., Sanderson, M. R., Yu, D. J., & Sivapalan, M. (2019). Expanding the scope and foundation of sociohydrology as the science of coupled human-water systems. Water Resources Research, 55, 874-887. https://doi.org/10.1029/2018WR024088
Puttiwongrak, A., Vann, S., Rattanakom, R., & Ruamkaew, S. (2019). Preliminary Assessment of Seawater Intrusion on Phuket Island Using Groundwater Data Analysis and Geographic Information System (GIS) Techniques. Engineering Journal of Research and Development, 30(4), 75-88.
Marome, W. A. (2016). Enhancing Adaptation to Climate Change by Impact Assessment of the Flood in Bangkok. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 13(2), 31-40.
Rusca, M., & Di Baldassarre, G. (2019). Interdisciplinary Critical Geographies of Water: Capturing the Mutual Shaping of Society and Hydrological Flows. Water, 11, 1973. https://doi.org/10.3390/w11101973
Schmidt, J. J. (2010). Water Ethics and Water Management. In P. G. Brown & J. J. Schmidt (Eds.), Water Ethics: Foundational Readings for Students and Professionals (pp. 3-15). Island Press.
Sivapalan, M., Konar, M., Srinivasan, V., Chhatre, A., Wutich, A., Scott, C. A., Wescoat, J. L., & Rodríguez-Iturbe, I. (2014). Socio-hydrology: Use-inspired water sustainability science for the Anthropocene. Earth’s Future, 2, 225-230. https://doi.org/10.1002/2013EF000164
Swyngedouw, E. (2009). The Political Economy and Political Ecology of the Hydro–social Cycle. Journal of Contemporary Water Research & Education, 142, 56-60.
Troy, T. J., Konar, M., Srinivasan, V., & Thompson, S. (2015). Moving sociohydrology forward: a synthesis across studies. Hydrology and Earth System Sciences, 19, 3667-3679. https://doi.org/10.5194/hess-19-3667-2015
Vogel, R. M., Lall, U., Cai, X., Rajagopalan, B., Weiskel, P. K., Hooper, R. P., & Matalas, N. C. (2015). Hydrology: The interdisciplinary science of water. Water Resources Research, 51, 4409-44300. https://doi.org/10.1002/2015WR017049
Wescoat Jr., J. L. (1987). The ‘practical range of choice’ in water resources geography. Progress in Human Geography, 11(1), 41-59. https://doi.org/10.1177/030913258701100103
Yang, D., Yang, Y., & Xia, J. (2021). Hydrological cycle and water resources in a changing world: A review. Geography and Sustainability, 2, 115-122. https://doi.org/10.1016/j.geosus.2021.05.003