ภาพลักษณ์ “ชุมชนภาคใต้” จากวรรณกรรมประวัติศาสตร์ภาคใต้ ชุด ประวัติพัทลุง-ตรัง (ตอนต้น)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพลักษณ์ “ชุมชนภาคใต้” จากวรรณกรรมประวัติศาสตร์ภาคใต้ ชุด ประวัติพัทลุง-ตรัง (ตอนต้น)” เป็นการวิจัยเอกสาร โดยรวบรวมวรรณกรรมประวัติศาสตร์ภาคใต้ ชุด ประวัติพัทลุง-ตรัง (ตอนต้น) ผลงานของชาญ ไชยจันทร์ และพาสน์ พลชัย แต่งเป็นกลอนสุภาพ ช่วง พ.ศ. 2496-2497 นำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ “ชุมชนภาคใต้” ที่ปรากฏจากวรรณกรรมมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช โดยพบจำนวน 6 ภาพลักษณ์ ซึ่งล้วนเป็นภาพลักษณ์ที่ดี ได้แก่ ภาพลักษณ์ด้านผู้นำ ภาพลักษณ์ด้านภูมิประเทศ ภาพลักษณ์ด้านเศรษฐกิจ ภาพลักษณ์ด้านสังคมวัฒนธรรม ภาพลักษณ์ด้านสภาพแวดล้อม และภาพลักษณ์ด้านการเมืองการปกครอง โดยภาพลักษณ์ “ชุมชนภาคใต้” ที่ปรากฏในวรรณกรรมยังสอดรับกับแนวคิด “ชุมชนเข้มแข็ง” ที่มีการกล่าวถึงกันมากในระยะหลัง ทั้งนี้ การประกอบสร้างภาพลักษณ์ “ชุมชนภาคใต้” จากวรรณกรรมในมิติต่าง ๆ ที่หลากหลาย อาจมีนัยให้เป็นภาพตัวแทน “ชุมชนภาคใต้ในอุดมคติ” เพื่อการพัฒนาชุมชนปลายทศวรรษ 2490 ซึ่งกำลังเสื่อมถอยหรือเพื่อพัฒนาชุมชนตามแนวคิดการสร้างชาติของรัฐ จึงนำ “อดีต” ที่รุ่งเรืองมาสร้างจิตสำนึกร่วมกันของคนในชุมชน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมทรัพยากรน้ำ, ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ. (ม.ป.ป.). ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 จาก http://rainmaking.royalrain.go.th/Data/Basin/detail/23
กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน. สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
กิตติ ตันไทย. (2553). โครงการเศรษฐกิจท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา: ศึกษาเฉพาะกรณีข้าวและยางพาราตั้งแต่ พ.ศ. 2539-2539. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน. (ม.ป.ป.). การเสด็จประพาสรอบแหลมมาลายูของรัชกาลที่ 5. ใน จดหมายเหตุการณ์เสด็จประพาสรอบแหลมมาลายูของรัชกาลที่ 5. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 จาก http://valuablebook2.tkpark.or.th/2015/2/document.html
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2557). การเป็นสมัยใหม่กับแนวคิดชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). สร้างสรรค์.
ชลิตา บัณฑุวงศ์ และ อนุสรณ์ อุณโณ. (2546). พลวัตเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ตอนบน ฝั่งตะวันออก. สถาบันวิถีทรรน์.
ชัชพล ไชยพร. (2555). ห้วงสำคัญแห่งพระราชไมตรี ไทย-มาเลเซีย สมัยรัชกาลที่ 6 ตราตรึงในความทรงจำรุ่นสู่รุ่น. https://www.silpa-mag.com/history/article_8338
ชาญ ไชยจันทร์ และ พาสน์ พลชัย. (2497). ประวัติพัทลุง-ตรังทั้งสามสมัย (ตอนต้น เล่ม 1) (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชูไทยแบบเรียน.
ชาญ ไชยจันทร์ และ พาสน์ พลชัย. (2496ก). ประวัติพัทลุง-ตรังทั้งสามสมัย (ตอนต้น เล่ม 2). ชูไทยแบบเรียน.
ชาญ ไชยจันทร์ และ พาสน์ พลชัย. (2496ข). ประวัติพัทลุง-ตรังทั้งสามสมัย (ตอนต้น เล่ม 4). ชูไทยแบบเรียน.
ชาญ ไชยจันทร์ และ พาสน์ พลชัย. (2496ค). ประวัติพัทลุง-ตรังทั้งสามสมัย (ตอนต้น เล่ม 5). ชูไทยแบบเรียน.
ทวีศิลป์ สืบวัฒนา. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. อินทนิล.
นภาภรณ์ หะวานนท์, เพ็ญสิริ จีระเดชากุล, สุรวุฒิ ปัดไธสง, อุษณีย์ ธโนศวรรย์, โสมพรรณ ถิ่นว่อง, ศศิธร ศิริประเสริฐกุล, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล, พนารัช ปรีดากรณ์, พรใจ ลี่ทองอิน, อภิชัย ศรีโสภิต, อัจฉรา วงศ์มงคล, ทศวร มณีศรีขำ, วันชัย ธรรมสัจการ, จิรศักดิ์ สุขวัฒนา, และ ฉัตรวรัญ องคสิงห์ (2548). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ปริญญา นวลเปียน. (2561). โซนสีเทาในพื้นที่สีแดง: ภาพสะท้อนจากเขตปลดปล่อย บริเวณชุมชนเชิงเขาบรรทัดในยุคสงครามเย็น. วารสารรูสมิแล, 39(3), 7-20.
พัฒนา กิติอาษา. (2545). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฎการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. โรงพิมพ์แปลน พริ้นติ้ง.
พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอเอส พริ้นติ้ง เฮาส์.
ภิญโญ ตันพิทยคุปต์. (2526ก). พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภิญโญ ตันพิทยคุปต์. (2526ข). พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีนักปกครองตัวอย่าง. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะสังคมศาสตร์.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2457). หนังสือหลักราชการ (พิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการสถาปนา “คณะครุศาสตร์” ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2550). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2506). จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128. โรงพิมพ์คุรุสภา.
ยงยุทธ ชูแว่น. (2550). คาบสมุทรไทยราชอาณาจักรสยาม: ตัวตนของประวัติศาสตร์ภาคใต้สมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์. ใน ยงยุทธ ชูแว่น (บรรณาธิการ), คาบสมุทรไทยราชอาณาจักรสยาม (หน้า 19-61). นาคร.
โรงเรียนกุลสัตรี. (2454). ภูมิศาสตร์สากลสำหรับประเทศสยาม. กระทรวงศึกษาธิการ, กรมตำรา.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2554). นางเลือดขาว’ ตำนานและภูมิวัฒนธรรมของคนคาบสมุทร. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. https://lek-prapai.org/home/view.php?id=245
วุฒิชัย สายบุญจวง. (2561). ชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชนกรณีศึกษา บ้านปลายคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 119-129.
สุทธิพันธ์ ขุทรานนท์. (2555). ปกิณกะประวัติศาสตร์ไทย เล่ม 3. กระทรวงวัฒนธรรม, กรมศิลปากร.
เสนานุวงศ์ภักดี (พิตร์ ณ ระนอง), ขุน. (2513). ประวัติและผลงานของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี๊ ณ ระนอง). ไทยวัฒนาพานิช.
อุดม หนูทอง. (2538). วรรณกรรมภาคใต้: ความสัมพันธ์กับวรรณกรรมท้องถิ่นอื่น. ใน สุกัญญา สุจฉายา (ภัทราชัย) (บรรณาธิการ), วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ (หน้า 85-87). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Anderson, B. (1991). Imagined communities: Reflection on the origin and spread of nationalism. Verso.