การสร้างภาพตัวแทนประเทศจีนกับอุปลักษณ์เชิงวิพากษ์ : กรณีศึกษาวาทกรรมข่าว “โชคชะตาร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ” ในหนังสือพิมพ์จีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนประเทศจีนที่ประกอบสร้างผ่านการใช้อุปลักษณ์มโนทัศน์ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาจีน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ 2 ชื่อฉบับ ได้แก่ ประชาชนรายวัน และกวางหมิงรายวันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปี พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 เมษายน ปี พ.ศ. 2564 และใช้ทฤษฎีอุปลักษณ์เชิงวิพากษ์เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัย ผลการวิเคราะห์อุปลักษณ์มโนทัศน์พบว่า หนังสือพิมพ์จีนได้ใช้กลวิธีอุปลักษณ์มโนทัศน์ในการรายงานข่าวสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 5 มโนอุปลักษณ์ ได้แก่ (1) การป้องกันและควบคุมโรคระบาด คือ การทำสงคราม (2) การป้องกันและควบคุมโรคระบาด คือ การเดินทาง (3) การป้องกันและควบคุมโรคระบาด คือ การเข้าสอบ (4) มนุษย์ทั่วโลก คือ ครอบครัว (5) การพัฒนาร่วมกันทั่วโลก คือ การก่อสร้าง การใช้อุปลักษณ์มโนทัศน์เหล่านี้ได้สื่อภาพตัวแทนประเทศจีน 7 ประการ ได้แก่ (1) ประเทศจีนเป็นนักรบ (2) ประเทศจีนเป็นกัปตันเรือ (3) ประเทศจีนเป็นผู้สนับสนุนแนวคิด “โชคชะตาร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ” (4) ประเทศจีนเป็นผู้เข้าสอบ (5) ประเทศจีนเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องครอบครัว (6) ประเทศจีนเป็นสมาชิกในครอบครัว และ (7) ประเทศจีนเป็นสถาปนิก ภาพตัวแทนประเทศจีนจึงถูกสร้างขึ้นและเผยแพร่ผ่านการใช้ภาษาที่เป็นอุปลักษณ์ ซึ่งสัมพันธ์กับสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และแนวคิด “โชคชะตาร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ” ในสังคมจีน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bucholtz, M., & K. Hall. (2010). Locating Identity in Language. In C. Llamas, & D. Watt (Eds.), Language and Identities (pp. 18-28). Edinburgh University Press.
Charteris-Black, J. (2004). Corpus Approaches to Critical Metaphor Analysis. Palgrave Macmillan.
Fairclough, N. (1992). Critical Language Awareness. Longman Group UK.
Fairclough, N. (2003). Analysing Discourse: Texual analysis for social research. Routledge.
Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphor We Live By. The University of Chicago Press.
Maalej, Z. (2007). Doing Critical Discourse Analysis with the Contemporary Theory of Metaphor: Towards a discourse model of metaphor. In H. Christopher, & L. Dominik (Eds.), Cognitive linguistics in Critical Discourse Analysis: Application and Theory (pp. 132-158). Cambridge Scholars Publishing.
Pragglejaz Group. (2007). MIP: A Method for Identifying Metaphorically Used Words in Discourse. Metaphor and Symbol, 22(1), 1-39.
Wodak, R. (1999). The Discursive Construction of National Identities. Discourse & Society, 10(2), 149-173.
陈婧. (2014). 批评隐喻分析视角下的国际机构身份构建研究——以联合国教科文组织为例.语言教育, 33(2), 38-42.
范武邱 & 邹付容. (2021). 批评隐喻分析视阈下外交话语与国家身份构建——以中国国家领导人在2007—2018 年夏季达沃斯论坛开幕式上的致辞为例.北京第二外国语学院学报, 43(3), 60-72.
光明日报. (2020, September 11). 伟大抗疫精神是中国精神的生动诠释. https://epaper.gmw.cn/gmrb/html/2020-09/11/nw.D110000gmrb_20200911_1-11.html
胡锦涛. (2012). 中国共产党的十八大报告. http://cpc.people.com.cn/n/2012/1118/c64094-19612151.html
黄婷 & 王永贵. (2017). 人类命运共同体:一种世界秩序的话语表述.马克思主义与现实, 27(5), 168-174.
纪玉华 & 陈燕. (2007). 批评话语分析的新方法: 批评隐喻分析. 厦门大学学报(哲学社会科学版), (6), 42-48.
李幸. (2020). 人类命运共同体理念对中华优秀传统文化的传承与创新. 河北大学.
刘泰来. (2015). 习近平构建中国特色对外话语体系的战略思维, 河海大学学报(哲学社会科学版), 17(1), 14-19.
屈伯文. (2020). 新冠肺炎疫情下的人类命运共同体之思.世界社会主义研究, 5(3), 24-30.
人民日报. (2017, February 14). 人类命运共同体理念成为广泛共识, http://opinion.people.com.cn/n1/2017/0214/c1003-29078167.html
人民日报. (2020, May 8). 疫情阻击战交出“中国答卷”. http://tyzx.people.cn/n1/2020/0508/c385051-31700678.html
人民日报. (2020, May 13). 中外联合抗疫短视频引关注. http://fashion.people.com.cn/n1/2020/0513/c1014-31706692.html
人民日报. (2020, October 27). 绿色“一带一路”推动构建人类命运共同体. http://gz.people.com.cn/n2/2020/1027/c194827-34377062.html
人民日报. (2020, December 22). 推动人类命运共同体建设走深走实. http://politics.people.com.cn/n1/2020/1222/c1001-31974698.html
人民日报. (2021, January 28). 维护和践行多边主义,推动构建人类命运共同体. http://politics.people.com.cn/n1/2021/0128/c1001-32015395.html
孙法友 & 陈旭光. (2016). “一带一路”话语的媒介生产与国家形象建构. 西南民族大学学报(人文社会科学版), 37(1), 163-167.
王润平. (2004). 当代中国家庭变迁中的文化传承问题.吉林大学.
王义桅. (2015). “一带一路”: 机遇与挑战. 人民出版社.
习近平. (2000). 习近平谈治国理政第三卷 (中文版). 外文出版社.
熊浩. (2021). 新冠肺炎疫情下构建人类命运共同体的思考. 盐城工学院学报(社会科学版), 34(1), 28-30.
许利平. (2006). 中国与周边国家命运共同体: 构建与路径. 社会科学文献出版社.
郑华 & 李婧. (2016). 美国媒体建构下的“一带一路”战略构想———基于《纽约时报》和《华盛顿邮报》相关报道的分析. 上海对外经贸大学学报, 23(1), 87-96.
朱鸿军 & 李喆. (2023). 主流媒体对人类命运共同体的政治传播分析. 上海交通大学学报 (哲学社会科学版), 31(1), 67-86.