คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคำหลายความหมาย ขึ้น ในภาษาไทย

Main Article Content

วิรากานต์ ศรีวิมล
คเชนทร์ ตัญศิริ
นัทธ์ชนัน นาถประทาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และจำแนกประเภทความหมายของคำว่า ขึ้น ในภาษาไทย โดยใช้แนวคิดอรรถศาสตร์ปริชาน และแนวคิดการมีหลายความหมายอย่างมีหลักการ (principled polysemy approach) ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมตัวอย่างข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติฯ และเว็บบอร์ดพันทิป ผลการวิจัยพบว่า คำว่า ขึ้น มีจำนวนทั้งสิ้น 13 ความหมาย ได้แก่ 1) ความหมาย ‘เหตุการณ์การเคลื่อนที่ไปที่ที่สูงกว่า’ 2) ความหมาย ‘ทิศทางของเหตุการณ์การเคลื่อนที่ไปสู่ที่สูงกว่า’ 3) ความหมาย ‘ทิศทางของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพ’ 4) ความหมาย ‘เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพ หรือ เหตุการณ์การทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลง สภาพ’ 5) ความหมาย ‘เหตุการณ์การปรากฏ’ 6) ความหมาย ‘การมีสภาพ’ 7) ความหมาย ‘การเพิ่มปริมาณหรือคุณสมบัติ’ 8) ความหมาย ‘เหตุการณ์การเคลื่อนที่ไปสู่ตำแหน่งหรือระดับที่สูงกว่า’ 9) ความหมาย ‘การอยู่ในระดับที่สูงกว่า’ 10) ความหมาย ‘เหตุการณ์การงอก’ 11) ความหมาย ‘มากกว่า’ 12) ความหมาย ‘เหตุการณ์การเริ่ม’ 13) ความหมาย ‘การแสดงความสัมพันธ์ประเภท เป็นไปตาม สอดคล้องกับ หรืออยู่ในสังกัด’

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศรีวิมล ว., ตัญศิริ ค., & นาถประทาน น. (2023). คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคำหลายความหมาย ขึ้น ในภาษาไทย . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 521–545. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.22
บท
บทความวิจัย

References

จรรยวรรณ สุวรรณรัตน์. (2558). การใช้กริยารองบอกทิศทางแบบไม่บ่งชี้ ขึ้น และ ลง ในภาษาไทย โดยผู้พูดภาษาอังกฤษที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภคภต เทียมทัน. (2561). พัฒนาการของคำว่า “บน” ในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวคิดอรรถศาสตร์ปริชาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริกมล สิริสัมพันธ์, และ ชัชวดี ศรลัมพ์. (2564). การแสดงความหมายในเหตุการณ์การเคลื่อนที่จริงของคำว่า 起 (qǐ ขึ้น) ในภาษาจีนกลาง. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 39(2), 1-30.

โสภาวรรณ แสงไชย. (2537). กริยารอง ขึ้น และ ลง ในภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2553). ชนิดของคำในภาษาไทย: การวิเคราะห์ทางวากสัมพันธ์. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สิงห์น้อย. (2548). คำนามประสม: ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างคำไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Evans, V., & Green, M. (2006). Cognitive Linguistics: An Introduction. Edinburgh University Press.

Lakoff, G. (1987). Woman, fire and dangerous things: What categories reveal about the mind. University of Chicago Press.

Ravin, Y., & Leacock, C. (2000). Polysemy: Theoretical and Computational Approaches. Oxford University Press.

Tyler, A., & Evans, V. (2003). The Semantics of English Prepositions: Spatial Scenes, Embodied Meaning and Cognition. Cambridge University Press.