การสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการปั้นตกแต่งและคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ รายวิชาออกแบบเครื่องปั้นดินเผา สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สุชาติ อิ่มสำราญ
ขนบพร แสงวณิช

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาผลการใช้แนวคิดของแฮร์โรว์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ต่อพัฒนาการด้านทักษะและคุณภาพการปั้นตกแต่งผลิตภัณฑ์ของผู้เรียนในรายวิชาออกแบบเครื่องปั้นดินเผา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 13 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดและประเมินผล และแบบบันทึกการสังเกต โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะพิสัย ระยะเวลา การเลียนแบบจากแบบร่างผลิตภัณฑ์ และความคิดสร้างสรรค์ หลังจากนำวิธีการสอนที่ออกแบบตามแนวคิดดังกล่าวไปใช้ในการจัด   การเรียนการสอน จำนวน 14 สัปดาห์แล้ว พบว่า 1) ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการปั้นตกแต่งผลิตภัณฑ์ในทิศทางที่ดีขึ้น จากระยะเวลาที่กำหนดไว้ และมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะพิสัยเพิ่มมากขึ้น 1.93 โดยมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหากได้เรียนต่อไป 2) ผู้เรียนสามารถปั้นตกแต่งและพัฒนาคุณภาพการปั้นตกแต่งของผลิตภัณฑ์ได้    ดีขึ้นตามแบบร่าง รวมทั้งสามารถนำความรู้และทักษะจากการเรียนรู้ใน ชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้ และ 3) วิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถผลิต ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น คือ การสอนย้ำ-ซ้ำ-ทวน     การสาธิตอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน การสร้างแรงบันดาลใจ และการเสริมแรง นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการทำงาน ได้แก่ ความท้าทายของงานที่เพิ่มขึ้น ระยะเวลาที่จำกัดสำหรับการทำงาน การควบคุมชั้นเรียน ความต่อเนื่องของทักษะในกิจกรรม การทราบถึงข้อมูลพื้นฐานทักษะของผู้เรียนแต่ละบุคคล และสิ่งเร้าภายนอกห้องเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อิ่มสำราญ ส., & แสงวณิช ข. (2023). การสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการปั้นตกแต่งและคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ รายวิชาออกแบบเครื่องปั้นดินเผา สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 368–384. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.16
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ตีรณ โง้วศิริมณี. (2523). อุตสาหกรรมเซรามิก. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

ศุภมาส ด่านวิทยากุล. (2560). การขึ้นรูปด้วยเซรามิค ด้วยวิธีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อดิน. เทคโนโลยีวัสดุ, 85, 45-48.

อารี รังสินันท์. (2527). ความคิดสร้างสรรค์. ธนกิจการพิมพ์.

Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. McGraw-Hill Book.

Harrow, A. (1972). A Taxonomy of the psychomotor domain: A guide for developing behavioral objective. Longman.