การเรียนรู้กับการรู้เรา รู้เขา เข้าใจ และเข้าถึงวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรในบรรษัทข้ามชาติไทยที่ไปลงทุนในประเทศเมียนมา

Main Article Content

เรณู เหมือนจันทร์เชย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเรียนรู้เพื่อรู้เรา รู้เขา เข้าใจที่นำไปสู่การเข้าถึงผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในการทำงานของบุคลากรที่ทำงานอยู่ในบรรษัทข้ามชาติไทยที่ไปลงทุนในประเทศเมียนมา โดยวิเคราะห์จากรายงานการวิจัยเรื่อง “การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแรงงานพม่า : กรณีศึกษาวัฒนธรรมการทำงานของแรงงานพม่าในบริษัทข้ามชาติไทยที่ไปลงทุนในประเทศเมียนมา” ตามแนวคิดการเรียนรู้และแนวคิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะการเรียนรู้ของบุคลากรในบริษัทดังกล่าวมี 2 ลักษณะ คือ การเรียนรู้ตามกระบวนการศึกษาวิจัยชุมชนที่เป็นไปตามแผนการดำเนินงานของบริษัท และการเรียนรู้ผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ควบคู่การทำงานในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ บนพื้นฐานความรู้ติดตัวที่ได้มาจากการระบบการศึกษาและประสบการณ์ของบุคลากร และพบว่าบริษัทที่ส่งเสริมการเรียนรู้แก่บุคลากรดังกล่าวสามารถดำเนินงานเข้าถึงผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ได้ตามเป้าหมาย ส่วนบริษัทที่ขาดการส่งเสริมการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาการดำเนินงาน ส่วนแนวทางส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ พบว่า บริษัทควรส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรู้เรา รู้เขา เข้าใจ และเข้าถึงวัฒนธรรมเพื่อนร่วมงานควบคู่การพัฒนาการทำงานแก่บุคลากรทุกกลุ่มอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เหมือนจันทร์เชย เ. (2023). การเรียนรู้กับการรู้เรา รู้เขา เข้าใจ และเข้าถึงวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรในบรรษัทข้ามชาติไทยที่ไปลงทุนในประเทศเมียนมา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 839–857. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.62
บท
บทความวิชาการ

References

ณัฐ นิวาตานนท์. (2561). ข้อคิดและหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา. http://www.dgtrans.co.th/contentdetail.php?content_id=164

โครงการพระราชดำริ. (2562). ศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”. http://www.dgr.go.th/skr/th/newsAll/257/2295

เนาวรัตน์ พลายน้อย และ สมศรี ศิริขวัญ (บรรณาธิการ). (2553). ปรารมภ์ว่าด้วยการศึกษาไทยรวมบทความว่าด้วยการศึกษาไทย. พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

พระอัครเดช ญาณเตโช. (2557). ซุนวู ปราชญ์แห่งพิชัยยุทธ์. https://www.stou.ac.th/study/sumrit/2-58(500)/page4-2-58(500).html

เรณู เหมือนจันทร์เชย, โสภนา ศรีจำปา, เอี่ยม ทองดี, และ ธีรพงษ์ บุญรักษา. (2559). การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมแรงงานพม่า : กรณีศึกษาวัฒนธรรมการทำงานของแรงงานพม่าในบริษัทไทยในประเทศเมียนมา. มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สิริอร วิชชาวุธ. (2553). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.