สัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายเรื่อง สมิงสำแดง ของเอกา กุรณียาวัน

Main Article Content

ศิวกร แรกรุ่น
มาโนช ดินลานสกูล
พัชลินจ์ จีนนุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษากลวิธีการประพันธ์แนวสัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายเรื่อง สมิงสำแดง ของเอกา กุรณียาวัน พบว่าผู้แต่งใช้กลวิธีที่โดดเด่น 3 กลวิธี ได้แก่ การสร้างเหตุการณ์ พบ 3 เหตุการณ์ คือ มาร์ฆีโอสมสู่กับเสือขาว เป็นสัญญะของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอิทธิพลเหนือภาวะสมัยใหม่ มาเมะห์เห็นเงา และแววตาเสือในร่างของมาร์ฆีโอ เป็นสัญญะของวัฒนธรรมเก่าที่มีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมใหม่ และมาร์ฆีโอฆ่าอันวาร์ ซาดัต เป็นสัญญะของชนพื้นเมืองที่ต่อต้านผู้บุกรุก การสร้างตัวละคร พบ 2 ตัวละคร คือ มาร์ฆีโอ เป็นสัญญะของผู้สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น และ เสือขาว เป็นสัญญะของบรรพบุรุษของชนพื้นเมือง และการสร้างฉาก พบ 1 ฉาก คือ หลุมศพของกอร์มา บิน ซูเอิบ เป็นสัญญะของดินแดนที่ไม่ต้อนรับคนนอก ส่วนแนวคิดที่นำเสนอผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยาย เรื่อง สมิงสำแดง ของเอกา กุรณียาวัน พบว่าผู้แต่งนำเสนอแนวคิดสำคัญ 2 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นท้องถิ่นอินโดนีเซีย คือ รูปปั้นเสือสิลีวังงี ญิน เลอเลิด ชามัก และนิทานสุมาตราที่เป็นสัญญะของ   ความเป็นท้องถิ่น และแนวคิดเกี่ยวกับการโต้กลับเชิงวัฒนธรรม สังคม และประวัติศาสตร์ของความเป็นท้องถิ่นกับความเป็นเมืองหลวง ได้แก่ บรรพบุรุษเมือง และมะ ราบิอะฮ์ ที่นำเสนอประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นูราเอนีกับห้องครัว ที่นำเสนอพื้นที่หลบซ่อนของผู้หญิงในสังคมอินโดนีเซียสมัยใหม่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แรกรุ่น ศ., ดินลานสกูล ม., & จีนนุ่น พ. (2022). สัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายเรื่อง สมิงสำแดง ของเอกา กุรณียาวัน . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(3), 235–260. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.40
บท
บทความวิจัย

References

จิรประภา อัครบวร. (2558). ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย. กรกนกการพิมพ์.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวนิชย์. (2559). สัจนิยมมหัศจรรย์ในงานของ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์ริสัน, และวรรณกรรมไทย. อ่าน.

วิทย์ บัณฑิตกุล. (2555). สาธารณรัฐอินโดนีเซีย. สถาพร.

สามารถ ทองเฝือ. (2562). วัฒนธรรมการเมืองของประเทศมุสลิมในอาเซียน: กรณีศึกษาอินโดนีเซีย.วารสารูสมิแล, 40(1), 15-16.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2554). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธา ศาสตรี. (2525). วรรณคดีเปรียบเทียบ. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์.

เอกา กุรณียาวัน. (2561). สมิงสำแดง (เพ็ญศรี พานิช, ผู้แปล). ไลต์เฮาส์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2557).

Astika, A. (2020). 3 Ciri dan Perbedaan Khodam Pendamping Dari Leluhur dan Hasil Amalan. https://www.sonora.id/read/

Hanif, M. (2019). Perancangan Informasi Cerita Cindaku Harimau Sumatera Melalui Media Video Animasi. Bandung, Fakultas Desain Universitas Komputer Indonesia.

Millenial, D. (2020). Menguak Legenda Harimau Putih Pasukan Pajajaran. https://kumparan.com/