ภาพลักษณ์หวังซีเฟิ่งในละคร เรื่อง ความฝันในหอแดงและละครประวัติไต้อี้ว์

Main Article Content

ภูเทพ ประภากร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์และวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวละครหวังซีเฟิ่งจากละครเรื่องความฝันในหอแดง ปี ค.ศ. 1987 ค.ศ. 1996 ค.ศ. 2010 และละครประวัติไต้อี้ว์ ปี ค.ศ. 2010 โดยใช้แนวคิดภาพลักษณ์และการนำเสนอตัวละครมาเป็นกรอบแนวคิดสำคัญ ขอบเขตเนื้อหาที่มุ่งศึกษาประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถ ด้านความโหดร้ายและพฤติกรรมที่ขัดต่อจารีตทางสังคมศักดินาจีน ด้านความเป็นภรรยา ด้านความเป็นมารดา และด้านความเวทนาในชีวิต ผลการศึกษา พบว่า ในละครทุกเรื่องภาพลักษณ์ความโหดร้าย พฤติกรรมที่ขัดจารีตทางสังคมโดดเด่นที่สุด รองมาคือภาพลักษณ์ด้านความสามารถในการบริหารจัดการ ด้านความเป็นภรรยาและมารดานำเสนอค่อนข้างน้อย ภาพลักษณ์ด้านความเวทนาในชีวิตที่มีการนำเสนอแตกต่างกันอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมศักดินาจีน แม้สตรีจะมีความสามารถมากเพียงใด กลับยังต้องตกอยู่ภายใต้กรอบจารีตทางสังคมที่นำหลักสามคล้อยสี่คุณธรรมมา  ตีกรอบบทบาทและสถานภาพสตรีอย่างเคร่งครัด โครงเรื่องของละครทั้งสี่ดำเนินเรื่องตามตัวบทวรรณคดี โดยเฉพาะการแสดงความสามารถและความโหดร้ายของหวังซีเฟิ่งและช่วงชีวิตที่ตกต่ำ แต่ช่วงจุดจบชีวิตของหวังซีเฟิ่งนำเสนอแตกต่างกัน ละครเหล่านี้ล้วนสะท้อนพฤติกรรมด้านดีของหวังซีเฟิ่ง แม้จะลบภาพจำความโหดร้ายที่มีให้หมดไปไม่ได้ แต่ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจความเป็นมาถึงพฤติกรรม การกระทำเหล่านั้นที่พยายามรักษาสถานภาพและบทบาทของตน ทั้งยังเป็นการสะท้อนความทุกข์ยากของสตรีภายใต้ระบบสังคมศักดินา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ประภากร ภ. (2022). ภาพลักษณ์หวังซีเฟิ่งในละคร เรื่อง ความฝันในหอแดงและละครประวัติไต้อี้ว์ . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(3), 261–293. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.41
บท
บทความวิจัย

References

จิรมน สังข์ชัย. (2562). การดัดแปลงนวนิยายชุดผ้าของ พงศกร เป็นบทละครโทรทัศน์. วารสาร วิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(1), 137-161.

ชญาน์ทัต วงศ์มณี, และ รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2553). ภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ปรากฏในข่าวประชาสัมพันธ์ละครโทรทัศน์. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 3(3), 55-76.

ชิว ซูหลุน. (2551). แนวคิดหลักอมตะวรรณคดีจีนความฝันในหอแดง. วารสารจีนวิทยา, 2, 50-59.

เชียน เหริน. (2555). ผู้หญิงในอุดมคติจากมุมมองทางวัฒนธรรมไทยกับจีน การศึกษาเปรียบเทียบนางเอกในวรรณกรรมเรื่อง สี่แผ่นดิน และ ความฝันในหอแดง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัสถ์ สุวัฒนมหาตม์. (2560). หวังซีเฟิ่ง ดาวร้ายในสิบสองดรุณีแห่งจินหลิง ใน ดาวร้ายในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน. ชวนอ่าน.

นัยน์พัศ อธิษฐ์พัส. (2561). ความย้อนแย้งแห่งเสรีภาพในนวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดงและนวนิยายของมั่วเหยียน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราวลี จินนิกร. (2559). การศึกษาภาพลักษณ์ของตัวละครหญิงในวรรณกรรมเรื่องผู้ชนะสิบทิศ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูเทพ ประภากร. (2564). คุณค่าสตรีตามแนวคิดปิตาธิปไตยในสังคมศักดินาจีนจากวรรณคดีเรื่อง ความฝันในหอแดง. วารสารอักษรศาสตร์, 50(1), 17-41.

ทิสวัธ ธำรงสานต์. (2560). ตีความ เลียนแบบ และแปลงสาร เจ้าชายน้อย: จากนวนิยายเชิงปรัชญาสู่แผ่นฟิล์ม. วารสารมนุษยศาสตร์, 24(1), 142-170.

รัตนศักดิ์ ก้อนเพชร, และ กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2561). “สตภาพลักษณ์วีรบุรุษนอกกฎหมาย” ของตัวละครเอกฝ่ายชายในวรรณกรรมของไม้เมืองเดิม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(2), 147-166.

Cao, X. Q., & Gao, E. (2019). ความฝันในหอแดง《红楼梦》. ฉางขุน长春:สือไต้เหวินอี้ 时代文艺出版社.

Ding, M. (2006). การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของพานจินเหลียนกับหวังซีเฟิ่ง 潘金莲与王熙凤形象比较. Journal of Yangzhou College of Education, 24(4), 19-22.

He, W. G. (2017). การวิเคราะห์ภาพลักษณ์หวังซีเฟิ่งจากละครและภาพยนตร์ความฝันในหอแดง 论《红楼梦》电视剧中的王熙凤形象. Journal of Luoyang Normal University, 36(10), 26-30.

Liu, Sh. F. (2019). ความฝันในหอแดงที่อ่านไม่รู้สิ้น เหล่าตัวละครที่งดงามมิรู้จบ 看不够的 红楼梦,品不完的众人生. 沈阳:辽宁人民出版社.

Liu, X. W. (2016). หลิวซินอู่ไขปริศนาความฝันในหอแดง (เล่มแรก) 刘心武揭秘《红楼梦》(上). หนันจิง 南京: อี้หลิน 译林出版社.

Ma, M. Q. (2019). วิเคราะห์อุปนิสัยและภาพลักษณ์ของหวังซีเฟิ่งจากความฝันในหอแดง 浅谈《红楼梦》中王熙凤人物形象及性格. MotherLand Journal, 4, 99-101.

Su, E. Q. (2020). วิเคราะห์ภาพลักษณ์ความเป็น “ภรรยา” ของหวังซีเฟิ่งจากความสัมพันธ์ตัวละครสามกลุ่ม三重视角解读王熙凤“妻”之形象. Northern Literature Journal, 15, 37-39.

Wei, X. l. (2018). วิเคราะห์ภาพลักษณ์ตัวละครหวังซีเฟิ่งจากความฝันในหอแดง 浅析《红楼梦》中王熙凤人物形象. Literati and Artist of China Journal, 1, 107.

Xu, K. X. (2019). พิเคราะห์วรรณคดีจีนจากละครในมิติด้านวัฒนธรรมชั้นสูงและด้านมวลชน กรณีศึกษา การดัดแปลงละครความฝันในหอแดง ปี ค.ศ. 1987 และ ปี ค.ศ. 2010 浅谈经典名著在影视语境中的大众与精英文化——以对比87版、2010版《红楼梦》改编为例. Global Premiere Journal, 4, 32.

Yu, Y. (2018). ศึกษาภาพลักษณ์หวังซีเฟิ่งจากความฝันในหอแดง 《红楼梦》中王熙凤形象研究. Journal of Guangxi Science & Technology Normal University, 33(4), 57-59.

Zhang, Y. (2012). Comparison Between 87 Version and 2010 Version of The TV Series “Dream of Red Mansions”. (Broadcast and TV Art Subject) Zhejiang Normal University, China.