บทบาทของวัตถุ ความเป็นวรรณกรรมนัวร์และภาวะหลังมนุษย์ในนวนิยาย เรื่อง The Cult of Monte Cristo

Main Article Content

อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของวัตถุในนวนิยาย เรื่อง The Cult of Monte Cristo โดยใช้แนวคิดภววิทยาเชิงวัตถุเป็นกรอบคิดในประเด็นต่อไปนี้ 1) วัตถุกับการเป็นผู้ช่วยเหลือ 2) วัตถุกับการสร้างแฟนตาซี 3) วัตถุกับการเปิดเปลือยความผิดบาป ผลการศึกษาพบว่า วัตถุในตัวบทถูกนำเสนอให้เป็นผู้ช่วยเหลือมนุษย์ในการดำรงชีวิต แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาอำนาจของสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์เพื่อปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนั้นวัตถุยังเผยให้เห็นการคิดแบบแฟนตาซีของมนุษย์เพื่อนิยามวัตถุที่ตนไม่เคยรู้จัก สะท้อนถึงความขลาดเขลาของมนุษย์ เนื่องจากการสร้างแฟนตาซีดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสิ่งที่วัตถุเป็น ประเด็น  ที่น่าสนใจคือวัตถุถูกนำเสนอให้มีคุณสมบัติในการเปิดเปลือยความผิดบาปของมนุษย์ที่ปกปิดไว้ ซึ่งคุณสมบัติของวัตถุทั้งสามประการนั้นถูกนำเสนอให้เชื่อมโยงกับภาวะหลังมนุษย์ภายใต้กรอบของวรรณกรรมนัวร์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฤทธิ์ศรีธร อ. (2022). บทบาทของวัตถุ ความเป็นวรรณกรรมนัวร์และภาวะหลังมนุษย์ในนวนิยาย เรื่อง The Cult of Monte Cristo. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(3), 528–552. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.53
บท
บทความวิชาการ

References

กฤษดา เกิดดี. (2547). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์: การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ. พิมพ์คำ.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). เพื่อนจำแลง Pretend Friend. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554, จาก https://www.thairath.co.th/content/178554.

เฉลิมชัย แสงศรีจันทร์. (2560). การสร้างตัวตนผ่านเพื่อนในจินตนาการ. วารสารปณิธาน, 13(1), 78-96.

ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย. (2555). ฌ้าคส์ ลากอง: 10 มโนทัศน์ในพรมแดนชีวิต. สยามปริทัศน์.

ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย. (2560). พัฒนาการความคิดเรื่องสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์/หลังมนุษย์ของสลาวอย ชิเชค: ภาพยนตร์ เสรีภาพ ทุนนิยม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 121-133.

นพพันธ์ บุญใหญ่. (2561). The cult of monte cristo. เดย์ โพเอสท์.

มิ่ง ปัญหา. (2562). หลังมนุษยนิยมกับวรรณคดีวิจารณ์: กรณีศึกษาด้านภาววิทยาเชิงวัตถุของแกรห์ม ฮาร์แมน (Graham Harman). ใน สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (บรรณาธิการ). นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม (น. 439-494). ศยาม.

อริสา พิสิฐโสธรานนท์. (2559). เข้าใจหนังเข้าใจจิต. สวนเงินมีมา.

Hater, S., & Chao, C. (1992). The Role of Competence in Children’ Creation of Imaginary Friend. Merrill-Palmer Quarterly, 350-363.

Levi, R. B. (2011). The democracy of object. MPublishing.

Scaggs, J. (2005). Crime fiction. Routledge.