คุณลักษณะของนวัตกรรุ่นเยาว์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ นำเสนอคุณลักษณะของนวัตกร ในช่วงอายุ 12 - 15 ปี มีจุดประสงค์เพื่อสังเคราะห์ตัวบ่งชี้คุณลักษณะของนวัตกรรุ่นเยาว์ โดย ใช้การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำตัวบ่งชี้ที่ได้มาสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น โดยใช้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสังเคราะห์ตัวบ่งชี้คุณลักษณะนวัตกรรุ่นเยาว์ ทั้งสิ้น 7 ท่าน แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการตรวจสอบความสอดคล้อง และความเหมาะสม ของตัวบ่งชี้คุณลักษณะของนวัตกรรุ่นเยาว์ของนักเรียน นำผลการตอบกลับที่ได้มาวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ได้ตัวบ่งชี้คุณลักษณะของนวัตกรรุ่นเยาว์ของนักเรียน ทั้งหมด 7 ตัวบ่งชี้ คือ 1) เล่นเชิงสร้างสรรค์ 2) มีแรงบันดาลใจ 3) ช่างสังเกต สามารถมองเห็นปัญหา 4) สามารถแสวงหาความรู้ ผ่านการตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ และทดลอง เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ 5) คิดริเริ่มสร้างสรรค์ 6) มุ่งมั่น และปฏิบัติงานต่อเนื่อง และ 7) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความสอดคล้องและมีความเหมาะสม โดยประเด็นค่าเฉลี่ยรวมความสอดคล้อง (IOC) เป็น 0.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36 และประเด็นความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยรวม 3.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.44 อยู่ในระดับมาก ซึ่งตัวบ่งชี้คุณลักษณะนวัตกรรุ่นเยาว์นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรรุ่นเยาว์ให้แก่ผู้เรียนต่อไปในอนาคต
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2560). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(26), 149-151. http://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/9279/7977
แดนไท สุขกำเนิด. (2562, มีนาคม). “Creating Innovators”: สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นนวัตกรเปลี่ยนโลก. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=8QDC9GC3S7Y&t=8s
ธิปกร นกุลวรภาส, และ ศรินทร์ วัชรบุศราคำ. (2562, มีนาคม). นวัตกรรุ่นใหม่ ที่ผู้ใหญ่รอบตัวเด็กทุกคนสามารถสร้างได้ Creating Young Innovators. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=q3Y0dJ1WGKw
พัทน์ ภัทรนุธาพร. (2562, มีนาคม). “Creating Innovators”: สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นนวัตกรเปลี่ยนโลก. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=8QDC9GC3S7Y&t=8s
พัชรพร อยู่ยืน. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นนวัตกร: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ PUNN (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2560). คู่มือการจัดการเรียนการสอนโครงการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านความเป็นผู้ประกอบการ รายวิชา กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล. (2562, มีนาคม). “Creating Innovators”: สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นนวัตกรเปลี่ยนโลก. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=8QDC9GC3S7Y&t=8s
วีระศักดิ์ สุระเรืองชัย. (2562, มีนาคม). “Creating Innovators”: สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นนวัตกรเปลี่ยนโลก. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=8QDC9GC3S7Y&t=8s
วสันต์ สุทธาวาศ, และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). วิธีพัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 748-767.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). STEM EDUCATION. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สงคราม เชาว์นศิลป์. (2537). พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์. ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2562, มีนาคม). “Creating Innovators”: สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นนวัตกรเปลี่ยนโลก. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=8QDC9GC3S7Y&t=8s
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางสร้างนักนวัตกร และโรงเรียนเตรียมนวัตกร วิธีพัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. http://www.moe.go.th/moe/upload/news
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2555). นวัตกรรม. http://www.nia.or.th
Dyer, J., Gregersen, H. B., & Christensen, C. M. (2011). The innovator’ s DNA: Mastering the five skills of disruptive innovators. Harvard Business.
Newquist, E. (2015). 7 Characteristics of Highly Successful Innovators – Innovation. https://www.disruptorleague.com/blog/2015/03/13/7-characteristics-of-highly-successful-innovators/
Perignat, E. (2018). STEAM in Practice and Research: An Integrative Literature Review. https://doi.org/10.1016/j.tsc.2018.10.002
Premuzic, T. C. (2013). The Five Characteristics of Successful Innovators. Retrieved Sep, 30, 2018, from https://hbr.org on
Wagner, T. (2018). Creating Innovator. Harvard University.
Yakman, G. (2012). Exploring the Exemplary STEAM Education in the U.S. as a Practical Educational Framework for Korea. https://doi.org/10.14697/jkase.2012.32.6.1072