หลักคำสอนทางศาสนาคริสต์กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ติดเชื้อเอชไอวี กรณีศึกษา มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

วรวุฒิ เว้นบาป

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา      การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยหลักคำสอนทางศาสนาคริสต์ กรณีศึกษา มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ จังหวัดหนองบัวลำภู คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจงคุณสมบัติ ประกอบด้วย นักบวชชาย จำนวน 1 คน นักบวชหญิง จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 3 คน และเลือกแบบลูกโซ่ คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 6 คน ดำเนินการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม พบว่า หลักคำสอนทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก มีส่วนช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น มีจิตใจที่เข็มแข็งและแก้ปัญหาด้วยสติ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเองยังเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือ ให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอชไอวีคนอื่น ๆ มีวินัยในการรักษาและกินยาอย่างสม่ำเสมอ การปฏิบัติตัวตามหลักศาสนาช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ไม่ดูถูกตัวเอง กลับมารักตัวเองมากขึ้น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น รวมถึงการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่เพิ่มการแพร่เชื้อสู่คนรอบข้าง เมื่อหมดกำลังใจ หมดหวัง ท้อแท้ ถูกสังคมรังเกียจ การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากมูลนิธิฯ เสมือนอยู่กันแบบครอบครัวนั้น จึงมีส่วนเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปและเกิดคุณค่าในความเป็นมนุษย์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เว้นบาป ว. (2023). หลักคำสอนทางศาสนาคริสต์กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ติดเชื้อเอชไอวี กรณีศึกษา มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ จังหวัดหนองบัวลำภู . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 330–348. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.14
บท
บทความวิจัย

References

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2563). คู่มือการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (HIV & STIs Literacy). กลุ่มสื่อสารและสนับสนุนวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข.

กรมการศาสนา. (2554). ความรู้ศาสนาเบื้องต้น. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค. (2557). แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2557. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธนา นิลชัยโกวิทย์. (ม.ป.ป.). ปัญหาทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HIV. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563, จาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/06052015-1319.ฅ

มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์. (2560). มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ Perpetual help foundation. ม.ป.พ.

Bonell, C., & Imrie, J. (2001). Behavioural interventions to prevent HIV infection: rapid evolution, increasing rigour, moderate success. British Medical Bulletin, 58(1), 155-170. https://doi.org/10.1093/bmb/58.1.155

Erikson, E. (1950). Childhood and Society. W. W. Norton and company.

Chidrawi, H. C., Greeff, M., & Temane, Q. M. (2014). Health behaviour change of people living with HIV after a comprehensive community-based HIV stigma reduction intervention in North-West Province in South Africa. SAHARA J: journal of Social Aspects of HIV/AIDS Research Alliance, 11(1), 222-232. https://doi.org/10.1080/17290376.2014.985700

Muturi, N. (2008). Faith-based initiatives in response to HIV/AIDS in Jamaica. International Journal of Communication, 2, 108-131.

Pescaru, M. (2019). The importance of the socialization process for the Integration of the child in the society. ResearchGate. https://www.researchgate.net/publication/330076266

Szaflarski, M. (2013). Spirituality and religion among HIV-infected individuals. Current HIV/AIDS Reports, 10, 324-332.