อักษรจีนตัวเต็มกับอักษรจีนตัวย่อ : จากการปฏิรูปอักษรเพื่อสร้างรัฐชาติถึงการแบ่งแยกระบบตัวเขียนของจีนและไต้หวัน

Main Article Content

อติชาติ คำพวง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประวัติศาสตร์ความเป็นมาของขบวนการปฏิรูปอักษรจีนโดยสังเขป อันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การใช้อักษรจีนตัวย่อของจีนแผ่นดินใหญ่และอักษรจีนตัวเต็มของไต้หวันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาและเรียบเรียงจากเอกสารชั้นรอง จากการศึกษาพบว่า การใช้อักษรจีนตัวย่อและอักษรจีนตัวเต็มของชุมชนจีนทั้งสองฝั่งช่องแคบนั้น มีสาเหตุเริ่มต้น ณ จุดเดียวกัน คือ แนวคิดของขบวนการปฏิรูปอักษรจีนที่เริ่มจากความต้องการยกเลิกอักษรจีนและเฟ้นหาระบบสัทอักษรหรือระบบการสะกดคำมาแทนที่อักษรจีนเพื่อยกระดับอัตราการอ่านออกเขียนได้ของชาวจีนให้ทัดเทียมอารยประเทศ แต่แล้วความพยายามของปัญญาชนจีนในสมัยนั้นกลับไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามปณิธานที่วางไว้ จนต้องหันไปทำอักษรจีนให้ง่ายขึ้น (漢字簡化) แทน กระทั่งหลังสงครามกลางเมืองระหว่างจีนคณะชาติและจีนคอมมิวนิสต์ในปี 1949 ภารกิจการปฏิรูปอักษรยังได้รับการสานต่อทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน แต่ด้วยบริบททางการเมืองและการดำเนินงานที่แตกต่างกัน สุดท้ายจึงส่งผลให้ฝ่ายจีนแผ่นดินใหญ่ประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อ ส่วนไต้หวันกลับไปใช้อักษรจีน ตัวเต็มดังเดิม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คำพวง อ. (2023). อักษรจีนตัวเต็มกับอักษรจีนตัวย่อ : จากการปฏิรูปอักษรเพื่อสร้างรัฐชาติถึงการแบ่งแยกระบบตัวเขียนของจีนและไต้หวัน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 783–808. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.60
บท
บทความวิชาการ

References

กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์. (2557). อักษรและรัฐ: การปฏิรูปอักษรจีนในปลายราชวงศ์ชิงถึงสาธารณรัฐจีน. วารสารมนุษยศาสตร์, 21(2), 1-25

Li, H. 李浩銘. (2018). 1950年代臺灣的漢字簡化問題.《臺灣學研究》, 22, 77-108.

Li, Y. 李宇明. (2006). 切音字運動普及教育的主張.《漢語研究與应用 (第四輯)》, 4, 1-7.

Lin, W. 林萬菁. (1993). 論漢字簡化的極限與局限. 《中國語文通訊》, 27,17-20.

Lin, Z. 林正三. (2011). 正體字與簡化字在未來的共存之道.《海外華人研究》, 4, 41-66.

Qi, T. 亓婷婷. (2009). 從中共漢字改革歷史看簡化字.《師大學報: 語言與文學類》, 54(2), 107-133.

Wang, X. 汪學文. (1984).《中共文字改革之演變與結局》. 國立政治大學國際關係研究中心.

Zhan, Y. 詹鄞鑫. (2003). 二十世紀文字改革爭鳴綜述.《中國文字研究》, 1-13.

Zhang, T. 章太炎. (1908).《駁中國用萬國新語說》. https://zh.m.wikisource.org/zh-hant/駁中國用萬國新語說

Zhou, P. 周萍. (2016). 《近現代漢字改革方案及其影響因素分析》. 韓國漢字研究所.

Zhou, Z. 周質平. (2013). 晚清改革中的語言烏托邦: 從提倡世界語到廢滅漢字.《二十一 世紀雙月刊》, 136, 28-143.