อาหารรอบบ้านกับความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางในชุมชนบางเหรียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากปัญหาที่ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางเผชิญ เช่น การถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรสูง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้อาหารรอบบ้านมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์และสภาพเศรษฐกิจสังคม รวมถึงความมั่นคงทางอาหารและกลยุทธ์การรับมือด้านอาหารของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราในชุมชนบางเหรียง รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนาตามธรรมชาติกับเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 330 ราย ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบผสานวิธี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรชาวสวนยางมีประสบการณ์การทำการเกษตรสูง ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 9.9 ไร่ และมีการผลิตอาหารที่หลากหลายรอบบ้าน เป็นพืชอาหาร 11 ชนิด และสัตว์เศรษฐกิจ 2 ชนิด วัตถุประสงค์ในการผลิตคือ เพื่อบริโภคในครัวเรือนและเพื่อจำหน่าย อาหารที่ผลิตได้มีไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค ทำให้ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางต้องใช้เงินซื้ออาหารจากตลาด กลยุทธ์การรับมือด้านอาหารที่สำคัญ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีราคาถูก การจำกัดขนาดของมื้ออาหาร การซื้ออาหารโดยเงินเชื่อ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มความมั่นคง ทางอาหารของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยาง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. กรมพัฒนาที่ดิน.
ก้อง เค็มกระโทก, พิทักษ์ นวมขุนทด, และ อัญชัญ เค็มกระโทก. (2555). สถานการณ์การบริโภคอาหารหลักเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายความมั่นคงด้านอาหารหลักของชุมชนตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เกศสุดา สิทธิสันติกุล, ขนิษฐา เสถียรพีระกุล, และ บัญจรัตน์ โจลานันท์. (2561). แนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 35(3), 64-73.
คณน ไตรจันทร์, ธีรศักดิ์ จินดาบถ, และ อนุวัต สงสม. (2560). องค์ประกอบความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 38(2), 577-587.
คณะอนุกรรมการจัดทำแผนเพื่อการบริหารความมั่นคงทางด้านอาหาร, คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์. (2560). กรอบยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
เดชรัต สุขกำเนิด. (2550). เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข. ใน กนกศักดิ์ แก้วเทพ (บรรณาธิการ). เศรษฐศาสตร์ธรรมิกราชา (น. 74-108). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงชัย ทองปาน, และ นิธิมา เนื่องจำนงค์. (2562). “จากนาข้าวเป็นสวนยางพารา”: การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพ และความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนชาวนาริมแม่น้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 10-41.
ทรงสิริ วิชิรานนท์, พจนีย์ บุญนา, และ จงทิพย์ อธิมุติสรรค์. (2557). วิถีชีวิตและความมั่นคงของอาหารภาคใต้. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 8(1), 94-107.
ธันยชนก ปะวะละ, และ ภณิตา สุนทรไชย. (2561). รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร บนฐานทรัพยากรทางธรรมชาติและทุนทางสังคมเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 143-154.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2562). แกงบวนบ้านตลิ่งแดงและความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น. อินทนิลทักษิณสาร, 14(1), 121-151.
นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2558). ความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการจัดการครัวเรือนของเกษตรกรในเขตพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพัฒน บริหารศาสตร์, 55(1), 1-25.
ปุณณดา มาสวัสดิ์, ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์, และ อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ บุญญะศิริ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนเกษตรไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 347-356.
มินตรา สาระรักษ์, และ เสาวลักษณ์ แสนนาม. (2557). ความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของประชาชนบ้านเมืองหมีน้อย ตำบลกวนวัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 16(3), 25-37.
พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551. (8 กุมภาพันธ์ 2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 31 ก. หน้า 40
วงศ์ตระกูล มาเกตุ. (2559). การสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนป่าตรง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย, 11(38), 67-76.
วีระศักดิ์ จุลดาลัย, พณิฐา ยงพิทยาพงศ์, ณัฐชญา เขตกระโทก, นิพนธ์ ติยะบุตร, และ ปัญญา สิทธิบุตร. (2556). การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะและแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหารระดับชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2552). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 14). สามลดา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้าปี 2562. http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/2563/commodity2562.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563ก). รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน เป็นรายภาค และจังหวัด. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563ข). เส้นความยากจน (ด้านรายจ่าย) จำแนกเป็นรายภาค และจังหวัด. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563ค). ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน เป็นรายภาค และจังหวัด. http://statbbi.nso.go.th/ststicreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2558). นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2564. http://www.nsc.go.th/Download1/policy58.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). สถิติด้านความยากจนและการกระจายรายได้. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3518
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, เกษศิรินทร์ ภู่เพชร, และ วิกานดา หมัดอะดั้ม. (2559). ศักยภาพและรูปแบบการจัดการด้านความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยในชุมชนตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(3), 147-154.
Balde, B. S., Diawara, M., Rossignoli, C. M., & Gasparatos, A. (2019). Smallholder-based oil palm and rubber production in the forest region of Guinea: An exploratory analysis of household food security outcomes. Agriculture, 9(41), 1-19.
Friis, C., Reenberg, A., Heinimann, A., & Schonweger, O. (2016). Changing local land systems: Implications of a Chinese rubber plantation in Nambak District, Lao PDR. Singapore Journal of Tropical Geography, 37(1), 25-42.
Hess, B. B., Markson, E. W., & Stein, P. J. (1991). Sociology. Macmillan.
Karunakaran, N. (2013). Shift to rubber cultivation and consequences on environment and food security in Kerala. Journal of Rural Development, 32(4), 395-408.
Somboonsuke, B., Wetayaprasit, P., Cherdchom, P., & Pacheerat, K. (2011). Diversification of smallholding rubber agroforestry system (SRAS) Thailand. Kasetsart Journal (Social Sciences), 32(2), 327-339.
Tefera, T., & Tefera, F. (2014). Determinants of households food security and coping strategies for food shortfall in Mareko District, Guraghe Zone Southern Ethiopia. Journal of Food Security, 2(3), 92-99.
The Economist Intelligence Unit. (2020). Food security index of Thailand. https://foodsecurityindex.eiu.com/Country/Details#Thailand
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed). John Weatherhill.