พ่อล่ามแม่ล่าม: วัฒนธรรมของชาวผู้ไทว่าด้วยการจัดสวัสดิการชุมชน

Main Article Content

สิระมนตร์ เวฬุวนารักษ์
จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง
รักชนก ชำนาญมาก

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งอธิบายถึงการจัดสวัสดิการของชาติพันธุ์ผู้ไท โดยมองผ่านวัฒนธรรมพ่อล่ามแม่ล่าม ในพื้นที่ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมพ่อล่ามแม่ล่ามเป็นทุนทางวัฒนธรรมของชาวผู้ไทนาโกที่มีมาตั้งแต่ในอดีต และยังคงถูกสืบทอด
ต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยวัฒนธรรมนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นการขยายฐานเครือญาติและส่งผลให้ระบบเครือญาติมีความเข้มแข็งมากขึ้น เกิดเป็นเครือข่ายความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในด้านต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในด้านการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การประกอบอาชีพ การช่วยเหลือเรื่องบุญประเพณี รวมไปถึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความร่วมมือต่าง ๆ ในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เวฬุวนารักษ์ ส., ขัดชุ่มแสง จ., & ชำนาญมาก ร. (2022). พ่อล่ามแม่ล่าม: วัฒนธรรมของชาวผู้ไทว่าด้วยการจัดสวัสดิการชุมชน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 135–151. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.17
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). ทิศทางและรูปแบบการ จัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. เทพเพ็ญวานิสย์.

จันทนา เจริญวิริยะภาพ และคณะ. (2546). เครือข่ายกองทุนหมุนเวียนชาวบ้านสงขลา รูปธรรมที่ใช้เงินเป็นเครื่องมือสร้างสวัสดิการชุมชน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

ชนินทร์ วะสีนนท์. (2549). การจัดสวัสดิการชุมชนของเครือข่ายอินแปง: กลไก กระบวนการจัดการตนเองของชาวอีสาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2547). ทุนสังคมและทุนวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจและการจัดการยุคใหม่. คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปัทมาวดี โพชนุกุล ซูซูกิ. (2552). วรรณกรรมปริทรรศน์และการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง สวัสดิการชุมชนในประเทศไทย. สถาบันสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2552). สวัสดิการชุมชนแก้จนอย่างยั่งยืน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

ภัทรวรรธน์ กาลือ. (2553). การบริหารจัดการ “องค์กรออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนบ้านดอนไชย สร้างทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน” เทศบาลตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระพีพรรณ คําหอม. (2549). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). พริกหวานกราฟฟิค.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2562). คู่มือการดําเนินงานสวัสดิการชุมชน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). สวัสดิการชุมชนเพื่อความมั่นคงในชีวิตของคนชุมชนท้องถิ่น. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

สุมิตรชา ซาเสน และ สัญญา เคณาภูมิ. (2560). ทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารบัณฑิตพัฒนสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 4(2), 43-54.

อภิญญา เวชยชัย และ ศิริพร ยอดกมลศาสตร์. (2547). การจัดสวัสดิการโดยภาคชุมชน. ใน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ). สวัสดิการสังคมฉบับชาวบ้าน แนวคิด นโยบาย แนวทางปฏิบัติ (น. 142-148). ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Throsby, C. D. (2001). Economics and culture. Cambridge University Press.