ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา: การปฏิบัติเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (cross sectional descriptive survey study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับความรู้และปฏิบัติตามแบบแผน ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมเฉลี่ย ระดับปานกลาง และมีเจตคติต่อการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพด้วย ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาโดยรวมเฉลี่ยระดับสูง อายุ ความรู้ และเจตคติต่อการปฏิบัติ การสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาร่วมกันพยากรณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้การผสมผสานรูปแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาร่วมกับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันสู่กิจกรรมผ่านกิจกรรมการบูรณาการภายใต้ความเชื่อ ความศรัทธา และทรัพยากรในชุมชนอาจนำไปสู่การปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย: กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 68-83.
ณัทธร สุขสีทอง. (2560). ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนากับการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 23(2), 164-173.
ธนยศ สุมาลย์โรจน์ และ ฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ สุขไสว. (2558). ผู้สูงอายุในโลกแห่งการทำงาน: มุมมองเชิงทฤษฎีทางกายจิตสังคม. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 242-254.
ภรณี ตังสุรัตน์ และ วิมลฤดี พงษ์หิรัญ. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตําบลบางเมือง อําเภอเมือง จังหวัดสุมทรปราการ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย, 20, 57-69.
มะยุรี วงค์กวานกลม. (2560). ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมวัฒนธรรมอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. (ฉบับพิเศษการประชุมพยาบาลครั้งที่ 25), 140-147.
มาลี ไชยเสนา และ พจน์ ไชยเสนา. (2561). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(2), 147-154.
สามารถ ใจเตี้ย. (2562). การเสริมสร้างสุขภาพสังคมผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(เพิ่มเติมพิเศษ 2), S185-S194.
สามารถ ใจเตี้ย, รพีพร เทียมจันทร์, กานต์ชัญญา แก้วแดง, และ อทิตยา ใจเตี้ย. (2562). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเมืองด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารควบคุมโรค, 45(2), 161-168.
สายฝน เอกวรางกูร, นัยนา หนูนิล, อรทัย นนทเภท, และ อุษา นวมเพชร. (2561). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาล, 67(2), 18-26.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ปี 61 ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ. https://www.thaihealth.or.th/Content/37506-ปี61ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ.html
สำราญ วิเศษ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15(2), 441- 450.
อทิตยา ใจเตี้ย. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารสวนปรุง, 31(1), 38-48.
อรทัย เลียงจินดาถาวร. (2562). โรงเรียนผู้สูงวัยกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 14(1), 195-207.
อารีย์ สงวนชื่อ, ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, และ รัตนาภรณ์ อาษา. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(2), 277-287.
Bloom, B. S. (1968). Learning for mastery. Evaluation Comment (UCLA-CSIEP), 1(2), 1-12.
Chen, G., & Yung, R. (2019). Meta-inflammaging at the crossroad of geroscience. Aging Med, 2(3), 157-161.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.
Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: basic concepts and methodology for the health sciences (9th ed.). John Wiley & Sons.
Gaston, J. F., Haisfield-Wolfe, M. E., Reddick, B., Goldstein, N., & Lawal, T. A. (2013). The relationships among coping strategies, religious coping, and spirituality in african american woman with breast cancer receiving chemotherapy. Oncology Nursing Forum, 40(2), 120-121.
Matthew, B. M., Michael, A. H., & Johnny, S. (2014). Qualitative Data Analysis: A Methods Sourcebook (3nd ed.). SAGE.
WHO. (2019). Ageing and health. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health