สองทศวรรษแห่งการปรับตัวของชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 บริเวณย่านการค้าสีลม

Main Article Content

ณัฐนพิน พละเสวีนันท์
อารีรัตน์ แพทย์นุเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวและปัจจัยบ่งชี้ความยืดหยุ่นของชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 บริเวณย่านการค้าสีลม ต่อสิ่งกระทบที่มีต่อชุมชน และเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินภายในชุมชนตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2563 รวมถึงประเมินศักยภาพของชุมชนทั้งจุดเด่นและจุดด้อย การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เพื่อหาดัชนีบ่งชี้ความยืดหยุ่นของชุมชน โดยสัมภาษณ์ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน ไม่น้อยกว่า 20 ปี จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 4.46 และมีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่พาณิชยกรรม ร้อยละ 2.30 สิ่งกระทบหลักๆ ที่ชุมชนกำลังเผชิญ คือ การย้ายถิ่นเข้ามาของแรงงานต่างชาติ การย้ายถิ่นออกของคนรุ่นใหม่    ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัญหายาเสพติด การจราจรติดขัด และปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ พบปัจจัยที่ทำให้ชุมชนมีความยืดหยุ่นซึ่งเป็นจุดแข็งที่ทำให้ชุมชนสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางย่านธุรกิจการค้าและความท้าทายจากภายนอก มี 6 ลักษณะ คือ โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและการบริการพื้นฐาน แกนนำชุมชน เครือข่ายทางสังคมและการร่วมมือ ความเชื่อที่หลากหลาย การให้ความช่วยเหลือโดยหน่วยงานรัฐและเอกชน และการยอมรับความเปลี่ยนแปลงและความแตกต่าง อย่างไรก็ดียังพบจุดอ่อนของชุมชนซึ่งควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ชุมชนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น คือ การขาดปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับกลุ่มแรงงานต่างชาติ ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พละเสวีนันท์ ณ., & แพทย์นุเคราะห์ อ. (2022). สองทศวรรษแห่งการปรับตัวของชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 บริเวณย่านการค้าสีลม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 316–342. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.25
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ บำรุงตน. (2546). การใช้ประโยชน์ที่ดินและการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานในย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาย่านสีลมสาทร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชีวารัตน์ กลับคุณ. (2550). แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณย่านธุรกิจสีลมช่วงถนนคอนแวนต์ถึงถนนนราธิวาสราชนครินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัณฑิต จุลาสัย, เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร, และ พีรศรี โพวาทอง. (2549). โครงการแผนที่บริเวณกรุงเทพฯ พ.ศ. 2450-พ.ศ.2475: การรวบรวมและจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาสถาปัตยกรรมและเมืองกรุงเทพ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG49H0003

โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย. (2560). ราคาประเมินที่ดินใหม่ สีลม สาทร ทองหล่อ สุขุมวิท เจริญกรุง 2560. https://www.trebs.ac.th/th/news_detail.php?nid=87

ศิวกร สว่างศรี. (2559). การจัดการการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษา ชุมชนเกาะศาลเจ้า เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมฤทัย เล็กศรีสกุล. (2544). แนวทางการออกแบบเพื่อการประสานระบบพื้นที่โล่งในเมืองย่านธุรกิจถนนสีลม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สามย่านมิตรทาวน์. (2563). จุฬาฯ-สามย่าน ติด 16 ย่านสุดคูลระดับโลก. https://www.samyan-mitrtown.com/2020/10/08/จุฬาฯ-สามย่าน-นั่งอันดับ/

อมรรัตน์ กล่ำพลบ. (2545). ผู้อยู่อาศัยกับโอกาสในการพัฒนาที่ดินราชพัสดุชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ahmed, I. (2016). Building resilience of urban slums in Dhaka, Bangladesh. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 218, 202-213.

Amundsen, H. (2012). Illusions of Resilience? An Analysis of Community Responses to Change in Northern Norway. Ecology and society, 17(4), 46.

Béné, C., Wood, R. G., Newsham, A., & Davies, M. (2012). Resilience: new utopia or new tyranny? Reflection about the potentials and limits of the concept of resilience in relation to vulnerability reduction programmes. IDS Working Papers, 2012(405), 1-61.

Buikstra, E., Ross, H., King, C. A., Baker, P. G., Hegney, D., McLachlan, K., & Rogers‐Clark, C. (2010). The components of resilience—Perceptions of an Australian rural community. Journal of Community Psychology, 38(2), 975-991.

Carter, H. (1990). Urban and rural settlements. Longman.

Chelleri, L., Waters, J. J., Olazabal, M., & Minucci, G. (2015). Resilience trade-offs: addressing multiple scales and temporal aspects of urban resilience. Environment and Urbanization, 27(1), 181-198.

Chirisa, I., & Mabeza, C. (2019). Community Resilience Under the Impact of Urbanisation and Climate Change: Cases and Experiences from Zimbabwe. Langaa Rpcig.

Frankenberger, T., Mueller, M., Spangler, T., & Alexander, S. (2013). Community resilience: Conceptual framework and measurement feed the future learning agenda. Westat.

Haggard, R., Cafer, A., & Green, J. (2019). Community resilience: A meta-study of international development rhetoric in emerging economies. Community Development, 50(2), 160-180.

Magis, K. (2010). Community resilience: An indicator of social sustainability. Society and Natural Resources, 23(5), 401-416.

Murphy, B. L. (2007). Locating social capital in resilient community-level emergency management. Natural Hazards, 41(2), 297-315.

Nelson, D. R., Adger, W. N., & Brown, K. (2007). Adaptation to environmental change: contributions of a resilience framework. Annual review of Environment and Resources, 32, 395-419.

Ross, H., Cuthill, M., Maclean, K., Jansen, D., & Witt, B. (2010). Understanding, Enhancing and Managing for Social Resilience at the Regional Scale: Opportunities in North Queensland. The University of Queenland.

USAID. (2012). Building resilience to recurrent crisis: USAID policy and program guidance. United States Government.

Walker, B., Holling, C. S., Carpenter, S. R., & Kinzig, A. (2004). Resilience, adaptability and transformability in social–ecological systems. Ecology and society, 9(2). [online]. http://www.ecologyandsociety.org/vol9/iss2/art5

Wright, A. (1999). Twentieth Century Impressions of Ceylon: Its History, People, Commerce, Industries, and Resources: Asian Educational Services.