ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจในญี่ปุ่น

Main Article Content

วรินทร วูวงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “โลกาภิวัตน์กับการปฏิรูปมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น”

โดยบทความนี้ได้กล่าวถึงเรื่องดังต่อไปนี้คือ

1) ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจในทศวรรษที่ 1990

2) ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจในศตวรรษที่ 21

3) กรณีศึกษาเรื่องความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจ

จากการศึกษาเรื่องความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจพบว่ารัฐบาลเร่งปฏิรูปในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยของภาคธุรกิจ มหาวิทยาลัยและภาคราชการโดยมีนโยบายว่าผลงานวิจัยต้องให้กลับคืนสู่สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ณ จุดนี้ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและมหาวิทยาลัยจึงมีความจำเป็นขึ้นมา มีการยืดหยุ่นให้อาจารย์ไปทำงานร่วมกับภาคธุรกิจได้ หรือวิจัยร่วมกันโดยสามารถทำสัญญาหลายปีได้ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานภาพของอาจารย์ให้ไม่ใช่ข้าราชการซึ่งเป็นที่มาของการปฏิรูปมหาวิทยาลัยให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลในปี 2004 มหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่นเป็นผู้นำอย่างเด่นชัด โดยมีแนวคิดว่างานความร่วมมือคือพันธกิจที่ 3 ของมหาวิทยาลัยซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ผลงานวิจัยกลับคืนสู่สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ มหาวิทยาลัยโตเกียวถึงกับมี  การประกาศว่าถ้างานความร่วมมือกับภาคธุรกิจของมหาวิทยาลัยล้มเหลว ความร่วมมือกับภาคธุรกิจของมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นทั้งหมดก็จะจบลงไปด้วย ข้อที่น่าสังเกตคือแม้ช่วงที่ญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก     แต่รัฐบาลก็ได้จัดสรรงบประมาณทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นจำนวนเงินมหาศาลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำวิจัยทั้งของภาคธุรกิจ  มหาวิทยาลัยและภาคราชการ กล่าวโดยสรุปคือรัฐมีความพยายามที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเข้าร่วมกระบวนการผลิตเทคโนโลยีเพื่อค้ำจุนเศรษฐกิจของประเทศอีกวาระหนึ่ง

This study analyzed relative clauses in Thai Legal, Media, Political and Academic registers. It was found that there were both similarities and differences among the four registers. All four registers shared two similar characteristics. First, almost all relative clause was co-occur with /thi⊥i/. Second, there is no pronoun used in relative clause for referring to the head noun in main clause.

In terms of differences, high proportion of restrictive relative clauses was found the Media, Political and Academic registers, while non-restrictive relative clause primarily appeared in Legal register. Moreover, absent noun varied among every register, except in the Legal register. Overall, it can be said that the four registers can be divided into 2 groups of relative clauses usage: relative clauses with variable use and relative clauses with limited use.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย