100 ปี ชาตกาล หม่อมหลวงบุญเหลือ (กุญชร) เทพยสุวรรณ นักปราชญ์ผู้ซึ่ง UNESCO ประกาศยกย่อง

Main Article Content

วิภา กงกะนันทน์

บทคัดย่อ

บทความนี้กล่าวถึงชีวิตและงานของหม่อมหลวงบุญเหลือ (กุญชร) เทพยสุวรรณในส่วนที่ยังไม่มี        การกล่าวถึงในที่ใดมาก่อน เป็นส่วนที่ผู้เขียนได้สัมผัสด้วยตนเองในช่วงที่ได้มีโอกาสปฏิบัติงานใกล้ชิดกับท่าน ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรเตรียมขยายงานของมหาวิทยาลัยมาที่บริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมเมื่อพ.ศ. 2510 จนถึงเวลาอีกประมาณ 10 ปี หลังพ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่หม่อมหลวงบุญเหลือ (กุญชร) เทพยสุวรรณ ลาออกจากราชการ แต่ยังไปสอนพิเศษและร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คณะอักษรศาสตร์ หม่อมหลวงบุญเหลือ (กุญชร) เทพยสุวรรณได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างหลักสูตร และจัดหาบุคลากรเพื่อก่อตั้งคณะอักษรศาสตร์ซึ่งเป็นคณะวิชาแรกที่เปิดสอน ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรกของคณะนี้ ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์ ได้มีการนำระบบวิทยาลัยซึ่งปรับปรุงจากแบบที่ใช้ในมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดและเคมบริดจ์มาใช้ วิทยาลัยแห่งแรกที่เปิดคือ “วิทยาลัยทับแก้ว” ระบบนี้มีผลให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกัน รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันนอกชั้นเรียนด้วย หม่อมหลวงบุญเหลือยังมีบทบาทสำคัญในการร่างหลักสูตรวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากจะกล่าวถึงประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้รับโดยตรงจากหม่อมหลวงบุญเหลือฯ ในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนยังได้สรุปกิจกรรมที่องค์กรต่างๆ จัดขึ้นในปี 2555 เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสที่หม่อมหลวงบุญเหลือ (กุญชร) เทพยสุวรรณ ได้รับยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ภาษา และวรรณคดีในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่านด้วย

This article is about some aspects of the life and work of Mom Luang (M.L.) Boonlua Debyasuvarn, a philosopher who is accredited by UNESCO as a prominent figure in Thai education, language, literature and other aspects of Thai culture. These aspects have never been mentioned elsewhere before as they are based on the writer’s personal experience when working closely with M.L.Boonlua Debyasuvarn at the Faculty of Arts, Silpakorn Univerty at Sanam Chandra Palace Campus, Nakorn Pathom district - commonly known as “Thap Kaeo”.  The university campus adapted the college system practiced in Oxford and Cambridge; therefore, members of the Faculty and students had the opportunity to share their life style and experience outside classrooms within the campus.

M.L. Boonlua Debyasuvarn established the academic foundation of the faculty both as a lecturer and as the first Dean for a few years prior to her retirement. Several years ago, M.L. Boonlua Debyasuvarn also played an important role in drafting the curriculum for the Department of Thai language at Faculty of Liberal Arts, Thammasat University. The article also includes details on activities organized by various sectors to celebrate M.L. Boonlua Debyasuvarn’s achievements throughout the year 2012.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ