กลไกแสดงความเด่นของวจนะเลิกทาสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษากลไกแสดงความเด่นในวจนะเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา รวม 30 ตอน ปรากฏกลไกการแสดงความเด่น ด้วยการแสดงใจความสําคัญด้วยการแสดงองค์ประกอบการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร จุดมุ่งหมาย รูปแบบการสื่อสาร และสาระสําคัญในวจนะแต่ละตอนซึ่งแสดงแนวคิดในการบริหารบ้านเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผ่านหลักการคิด 10 มิติ คือ การคิดเชิงกลยุทธ์, เชิงอนาคต, เชิงสร้างสรรค์, เชิงวิพากษ์, เชิงบูรณาการ, เชิงวิเคราะห์, เชิงเปรียบเทียบ, เชิงสังเคราะห์, เชิงมโนทัศน์ และการคิดเชิงประยุกต์
This article aims to study prominence discourse devices in King Chulalongkorn’s (King Rama V) address on slavery abolition. The data used in the analysis were taken from 30 sections of the government gazette published during the reign of King Rama V (1874-1910 A.D.). The results showed that the prominence devices of the communication component is a compound form of communication consisted of the messenger, the audience, and the objective. Moreover, the prominence discourse patterns in King Chulalongkorn’s address reflect 10 dimensions of His Majesty’s social and political administration thoughts as follows: strategic thinking, futuristic thinking, creative thinking, critical thinking, integrative thinking, analytical thinking, comparative thinking, synthesis thinking, conceptual thinking, and applicative thinking.