วรรณยุกต์ภาษาไทยของผู้พูดภาษาลัวะ จังหวัดน่าน: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์

Main Article Content

ชมนาด อิทจามรรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบสัทลักษณะของวรรณยุกต์ภาษาไทยมาตรฐานที่ออกเสียงโดยผู้พูดภาษาลัวะ 4 วิธภาษาที่พูดในจังหวัดน่าน ประกอบไปด้วย 1) ภาษาลัวะมัลบ้านสกาดกลาง    2) ภาษาลัวะมัลบ้านเกวต 3) ภาษาลัวะมัลบ้านตาหลวง และ 4) ภาษาลัวะไปรบ้านห้วยล้อม รายการคำสำหรับบันทึกเสียงครอบคลุมวรรณยุกต์ภาษาไทยทั้ง 5 หน่วยเสียงที่ปรากฏในคำพยางค์เป็นและพยางค์ตายจำนวน 9 คำ ผู้บอกภาษาเป็นผู้พูดภาษาลัวะ จำนวนวิธภาษาละ 5 คน รวมเป็น 20 คน ในภาษาลัวะ 4 วิธภาษา งานวิจัยเก็บข้อมูลโดยการให้  ผู้บอกภาษาออกเสียงรายการคำที่จัดเรียงแบบสุ่ม จำนวน 5 รอบ ในกรอบประโยค “พูด......อีกที” สรุปจำนวนคำทดสอบสำหรับการวิเคราะห์เสียงวรรณยุกต์ ทั้งสิ้น 900 คำทดสอบ จากนั้นบันทึกเสียงผู้บอกภาษาด้วยคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรม Praat เพื่อการวิเคราะห์ค่าความถี่  มูลฐาน (F0) ของวรรณยุกต์ และนำมาปรับเป็นค่าเซมิโทน ผลการวิจัยพบว่า การออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยในคำพยางค์เป็นวรรณยุกต์ระดับ ได้แก่ วรรณยุกต์สามัญและวรรณยุกต์เอก มีสัทลักษณะตก (falling contour) อย่างเห็นได้ชัดในภาษาลัวะทุกวิธภาษา ในขณะที่วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับในคำพยางค์ตาย ได้แก่ วรรณยุกต์โทและวรรณยุกต์ตรี มีสัทลักษณะระดับ (level contour) ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าผู้พูดภาษาลัวะนำสัทลักษณะของระดับเสียงในภาษาแม่มาใช้ในการออกเสียงภาษาไทย เนื่องจากระดับเสียงธรรมชาติในคำลัวะเป็น [สูง-ตก] หรือ [สูงระดับ] ขึ้นกับโครงสร้างพยางค์ นั่นคือ คำพยางค์เป็นจะมีระดับเสียง [สูง-ตก] ส่วนคำพยางค์ตายจะมีระดับเสียง [สูงระดับ] นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบสัทลักษณะของวรรณยุกต์ภาษาไทยในแต่ละวิธภาษาพบว่า ผู้พูดภาษาลัวะมัลบ้านเกวตออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยแตกต่างจากผู้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่มากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อินทจามรรักษ์ ช. (2019). วรรณยุกต์ภาษาไทยของผู้พูดภาษาลัวะ จังหวัดน่าน: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(2), 1–21. https://doi.org/10.14456/lartstu.2019.10
บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ ห่อเพชร. (2544). การเปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ในคำภาษาไทยมาตรฐานที่พูดโดยกลุ่มชาติพันธุ์ไทย มลายู และจีนในตำบลสะเดา และตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ชมนาด อินทจามรรักษ์. (2552). เส้นทางสู่การเป็นภาษาวรรณยุกต์ของภาษามัล-ไปรที่พูดในจังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.

______. (2559). สระและวรรณยุกต์ภาษาไทยที่ออกเสียงโดยผู้พูดภาษาเขมร เวียดนาม พม่า และมลายู: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ณัฐพงษ์ วงษ์อำไพ. (2552). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยเด็กอายุ 6-7 ปี ซึ่งพูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธนภัทร สินธวาชีวะ. (2552). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยคนญี่ปุ่น: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ, วิชาติ บูรณะประเสริฐสุข, พรรณี ชีวินศิริวัฒน์, ยุพาพร ฮวดศิริ, ชนิตา ดวงยิหวา, และสมเจตน์ วิมลเกษม. (2550). บทประมวลและสังเคราะห์ฐานข้อมูล 902 หมู่บ้าน (99 ตำบล) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ธีระพันธ์ ล.ทองคำ และนิสิตบัณฑิตศึกษา ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์. (2554). เสียงภาษาไทย: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [โครงการในแผนพัฒนาวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วิไลลักษณ์ จูวราหะวงศ์. (2543). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยคนไทยคนแต้จิ๋ว และคนซิกข์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เหงียน ถิ เวิน จี. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงวรรณยุกต์ไทยที่ชาวเวียดนามออกเสียงตามประสบการณ์ทางภาษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Diffloth, G. (1985). Austro-Asiatic Languages. Encyclopaedia britannica. Chicago/ London/ Toronto/ Geneva, Encyclopaedia Britannica Inc. pp. 480-484.

Filbeck, D. (1978). T’in: a historical study. Pacific Linguistics, series B. No. 49. Canberra: Australian National University.

Intajamornrak, C. (2009a). The Fundamental frequencies of Tai Yuan tones spoken by Lua Mal speakers of Ta Luang village of Pua District, Nan Province. Manusya, 17, 20-33.

Intajamornrak, C. (2009b, December). The acoustic characteristics of lexical pitches in four varieties of the Mal language of Nan Province: Implications for tonal evolution. Paper presented at The International Conference on South East Asian Languages organized by CLI, the CERLOM (INALCO, Paris) and the Formal Linguistics Laboratory (UMR 7110, Universite Paris Diderot), Paris, 17-19.

Intajamornrak, C. (2017). Thai tones produced by tonal and non-tonal language speakers: An acoustic study. Manusya, 20(2), 1-26.

Weinreich, U. (1968). (3rd edition) Language in contact. New York: Linguistic Circle of New York.