โอลิมปิก 2008: วาระแห่งทุนและสถานะในเวทีโลกของจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
กีฬาโอลิมปิกเป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ในอดีตกีฬารายการนี้เป็นเพียงเวทีเพื่อแสดงศักยภาพของร่างกายมนุษย์ผ่านการแข่งขันในเชิงกีฬา ทว่าในปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกกลับมีนัยความสำคัญที่เกี่ยวพันกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทั้งต่อชาติที่เป็นเจ้าภาพ ประเทศผู้ร่วมแข่งขัน และผู้ชมจากทุกมุมโลก การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี 2008 ที่มหานครปักกิ่ง ประเทศจีนได้เป็นเจ้าภาพนั้นเป็นโอกาสให้รัฐบาลจีนได้แสดงสถานภาพอันโดดเด่นของจีนในเวทีโลก ในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจจีนไปในแนวทางทุนนิยมอย่างเด่นชัด ในขณะเดียวกันยังเป็นโอกาสให้แสดงความสามารถในการจัดการ การบริการ และการผลิตของจีน วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่ง คือ เป็นการแสดงภาพลักษณ์ของจีนว่าเป็นชาติที่พัฒนาแล้ว และเป็นมิตรไมตรีกับนานาประเทศการได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2008 จึงมิได้มีความสำคัญในแง่เกมกีฬาเท่านั้น หากมีความสำคัญ และสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับย่างก้าวที่สำคัญของจีนในฐานะมหาอำนาจที่สำคัญชาติหนึ่งของโลกเช่นกัน
Historically, the Olympic Games have been the most significant sport competition of mankind. In the past, the Games served only as an arena for the manifestation of physical stamina via sport contest. However, at the present the Olympic Games involve not only the sportive aspect but also The political, economic, social and cultural aspects of the host, the participant countries and the spectators around the world as well. For China’s government, the Beijing Olympiad in 2008 renders the opportunity for China to display the country’s spectacular success in economic growth and her commitment in capitalism. In addition, China wants to show her capabilities in management, in service and in manufacture. The other objective is to show that China has finally become a developed country, maintaining cordial relationship with numerous nations. The Beijing Games in 2008 is one of the steps for China to promote herself as one of the World’s super power.