Phibun and WWII in Southeast Asia Context

Main Article Content

Sorasak Ngamcachonkulkid

บทคัดย่อ

In this article, The author argues that Phibun’s actions during the Pacific War needs reassessment since most scholars of this period have explained his behavior and role in the wrong context. The main question concerns Phibun’s decision to become one of Japan’s Allies in 1941. The article suggests that the best way to understand Phibun’s role is to consider him as one of the ‘new elite’ and a local nationalist leader in comparison to other leaders of Southeast Asia. Phibun and his neighboring leaders came from similar backgrounds and shared the same feeling towards Japan. They were members of the ‘middle class’ and of the new elite. Also they were all ardent nationalists, were impressed by Japan’s victory over Western powers and were interested in Japan’s development as an alternative model. Consequently, when the Pacific War broke out in 1941, Phibus and most of his neighboring Asian leaders chose to collaborate with the Japanese because they thought that only in this way could they survive and advance the cause of their political power, factions, and nations. Undeniably, collaboration was the best way in which they could achieve progress towards their own personal, political, and national goals. Collaboration was often the only alternative against the Western powers. In addition, collaboration offered the only opportunity to arouse the population’s fever and to build a united front, as well as to strengthen native political power.

บทความนี้มีข้อเสนอใหม่ในเชิงการวิเคราะห์บทบาทของผู้นำกับบริบททางประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาว่าด้วยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นหลักที่ยังถกเถียงกันไม่รู้จบในวงวิชาการว่าเพราะเหตุใดผู้นำไทยจึงตัดสินใจเข้าร่วมสงครามข้างญี่ปุ่น-อักษะ สาระสำคัญของการศึกษานี้ เริ่มจากการทบทวนความรู้ชุดเดิมทั้งหมดเกี่ยวกับคำอธิบายการดำเนินนโยบายสงครามโลกครั้งที่สองของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้วิจัยเห็นว่าฐานความรู้ และวิธีคิดของแนวทางการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ทั้งในแวดวงวิชาการของตะวันตก และของไทยเราเองนั้น แม้มีความแตกต่างกันอย่างมากมายทั้งในเชิงวิธีการศึกษา และข้อเสนอหลักก็ตาม แต่ล้วนกลับมีจุดอ่อนที่ผิดพลาดเหมือนกันในการวิเคราะห์บทบาท และพฤติกรรมของผู้นำไทย เนื่องจากเป็นการพิจารณาบทบาทของจอมพล ป. ในบริบท (Context) ของการตามกระแสโลก-ลัทธิฟาสซิสต์ คือ มักเปรียบเทียบผู้นำไทยกับผู้นำของเยอรมัน-นาซี ทำให้ภาพของจอมพล ป. อยู่ในบริบททางประวัติศาสตร์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงผู้เขียนพบว่าแนวทางที่ดีที่สุดในการสร้างความรู้ชุดใหม่ เพื่อทำความเข้าใจบทบาทและพฤติกรรมของจอมพล ป. นั้น น่าจะพิจารณาในบริบทของกระแสการต่อสู้ของผู้นำท้องถิ่น-นักชาตินิยม โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบจอมพล ป. กับผู้นำประเทศต่าง ๆ ในเขตเพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันด้วยวิธีการศึกษาทาง Prosopography or Collective Biography เพราะในฐานะผู้นำประเทศเล็ก ๆ นั้น พวกเขามีภูมิหลังทางสังคม-เศรษฐกิจที่เหมือนกันและต่างมีประสบการณ์ทางการเมืองซึ่งล้วนตกอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คล้ายกันคือ ต้องต่อสู้กับอิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตก จึงไม่แปลกใจที่จอมพล ป. และผู้นำในแถบเพื่อนบ้านส่วนมากต่างหันไปพึ่ง และตัดสินใจเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายญี่ปุ่นเมื่อสงครามเกิดขึ้น ฉะนั้นการเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกฯ จึงไม่ใช่เป็นความทะเยอทะยานตามแบบอย่างลัทธิฟาสซิสต์ของผู้นำไทยและนั่นก็หมายความว่ามิใช่เป็นการเลือกข้างนิยมระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย หากแต่เป็นความจำเป็น และเพื่อความอยู่รอดของตนเอง และประเทศชาติภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้น โดยเฉพาะการแข่งขันอำนาจ และอิทธิพลของสองมหาอำนาจ ระหว่างฝ่ายเดิมนำโดยตะวันตก และฝ่ายใหม่นำโดยญี่ปุ่น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ