ดัชนีบ่งชี้คุณภาพหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพื่อศึกษาดัชนีบ่งชี้คุณภาพด้านการเรียนการสอนที่แสดงถึงมาตรฐานคุณภาพหลักสูตร ผลการวิจัยจากแบบสอบถามซึ่งเก็บข้อมูลจากนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่สี่ของภาควิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 41 คน พบว่า นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในระดับดีมากต่อดัชนีบ่งชี้วิชาพื้นฐาน ดัชนีบ่งชี้กิจกรรมในชั้นเรียน และดัชนีบ่งชี้การนำภาษาญี่ปุ่นไปใช้ประโยชน์ และนักศึกษาแสดงความคิดเห็นในระดับปานกลางต่อดัชนีบ่งชี้ในเรื่องความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่น ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารทั้งระดับรองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าภาควิชา พบว่าดัชนีบ่งชี้คุณภาพการบริหารเน้นในเรื่องการพัฒนาบุคลากร เรื่องวิชาการ และการควบคุมการทำงานให้สอดคล้องกับหลักสูตร ดัชนีบ่งชี้คุณภาพแผนการสอนเน้นในเรื่องบุคลากรจบตรงสาขา มีประสบการณ์ในการสอน ส่วนดัชนีบ่งชี้คุณภาพกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนจะเน้นในเรื่องการประยุกต์การทำกิจกรรมให้หลากหลายและการนำภาษาญี่ปุ่นไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน สำหรับดัชนีบ่งชี้คุณภาพ การประเมินผู้สอน เน้นการใช้แบบประเมินในการประเมินผู้สอน ทั้งในวิชาบรรยายและปฏิบัติ ในด้านผลการวิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งอื่นพบว่าหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บ่งบอกความเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ รายวิชาก็ลดหลั่นตามภูมิปัญญา การเรียนรู้ แต่ละวิชามีการแบ่งจัดกลุ่มกัน อีกทั้งมีลักษณะครอบคลุม ความสนใจและทักษะต่าง ๆ
This research is aimed to study the Japanese language curriculum at Thammasat University, and to study various indicators for the curriculum’s quality. The results from the questionnaires collected from the fourth-year Japanese major students were used to produce indicators to measure the students’ opinions towards the Japanese language curriculum. The finding revealed that the students had positive opinions, ‘very good’ towards indicators concerning fundamental subjects, class activities, and Japanese language practice in real life, and ‘good’ for indicators regarding Japanese language skills. In addition, the data from the in-depth interview with the Deputy Dean and the Department Head about the curriculum of the bachelor’s degree program in Japanese language indicated that in terms of administrative quality, the university focused on human resource development, academic matters, and course management to keep it relevant to the curriculum. Indicators for the curriculum had an emphasis on hiring specialists and experienced personnel. Moreover, the university put an emphasis on the practical use of Japanese language in various activities and everyday life. In terms of indicators for instructor evaluation, the university used evaluation forms for evaluating their instructors both in lecture and practical courses. Result from the analysis of curriculums revealed that the Japanese language curriculum at Thammasat University, compared with other university, compared with other university curriculums, was considered as standardized and has achieved its specified objectives. To suit studentsí intellectual capacity, the courses were arranged in tiers and each course was grouped to cover the students’ various interests and skills.