กลวิธีสื่อสารด้วยการพูดอ้อมของคนไทย

Main Article Content

ดียู ศรีนราวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่อง “การศึกษากลวิธีสื่อสารด้วยการพูดอ้อมของคนไทย” มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ ศึกษารูปแบบและหน้าที่ของการพูดอ้อมในภาษาไทย และศึกษาการเลือกใช้กลวิธีสื่อสารด้วยการพูดอ้อมของกลุ่มตัวอย่างว่ามีมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับการพูดตรง ข้อมูลด้านภาษาสำหรับการวิเคราะห์รูปแบบและหน้าที่ของภาษาอ้อมในภาษาไทยรวบรวมจากบทสนทนาในหนังสือนวนิยาย 5 เล่ม ส่วนการสำรวจการเลือกใช้ กลวิธีสื่อสารว่า กลุ่มตัวอย่างนิยมใช้ภาษาตรงหรือภาษาอ้อมรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 475 คน ซึ่งมีความหลากหลายตามปัจจัยด้านอาชีพ เพศ การศึกษา และอายุ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือนวนิยายพบว่าวัจนกรรมอ้อมปรากฏในรูปประโยคคำถามมากที่สุด และหน้าที่สำคัญของการพูดอ้อมคือการประชดประชัน แต่ผลจากการวิเคราะห์การเลือกใช้ภาษาอ้อมของกลุ่มตัวอย่างพบการพูดอ้อมเพื่อเน้นความสุภาพมากที่สุด และพบว่ากลุ่มที่มีระดับการศึกษาสูงจะใช้ภาษาอ้อมมากกว่ากลุ่มที่มีระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า โดยเป็นการใช้ภาษาอ้อมมากน้อยลดหลั่นตามระดับการศึกษา อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างเลือกวิธีสื่อสารด้วยการพูดตรงและพูดอ้อมในอัตราที่ใกล้เคียงกัน

The main purpose of this study was to determine the forma and functions of indirect speech in Thai, and to investigate the subjects’ choices of direct or indirect means of communication. The data was collected from two sources, one being conversations drawn from five contemporary novels; the other source was answers to a questionnaire administered to 475 subjects regarding their choice of direct or indirect speech in certain interactional situations. The subjects were selected and grouped according to their occupation, gender, level of education, and age. The finding from the conversation analysis indicate that indirect speech acts were mostly found in interrogative constructions, and the major function of indirectness was to convey irony. In contrast, the results of the questionnaire regarding the subjects’ choice of direct or indirect use of language shows that they prefer indirectness predominantly to emphasize politeness. In addition, there is a proportional relationship between the subjects’ use of indirectness and their educational level. In other words, the higher the subjects’ level of education, the more likely they are to use an indirect means of communication.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
งานวิจัย