อัตทัศน์ กลไกการปรับตัวเพื่อปกป้องตนเอง และบุคลิกภาพของชายรักร่วมเพศที่มีอาชีพขายบริการทางเพศ

Main Article Content

Christopher D.Tori
ทิพาวดี เอมะวรรธนะ

บทคัดย่อ

เนื่องด้วยความรู้ด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับชายรักร่วมเพศที่มีอาชีพขายบริการทางเพศ ยังมีความจำกัดมากในแวดวงวิชาการ งานวิจัยนี้ศึกษาชายขายบริการจำนวน 142 คน (อายุเฉลี่ย = 21.53) ให้ตอบแบบสอบถามที่มีเกณฑ์มาตรฐานของคนไทย เป็นจำนวน 3 แบบ ได้แก่ แบบวัดภาพที่มีต่อตนเอง แบบที่สองคือดรรชนีของวิถีชีวิตซึ่งประเมินด้านกลไกการปรับตัว และแบบที่สามคือรายการสำรวจลักษณะส่วนบุคคล นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังถูกสัมภาษณ์ถึงเหตุผลที่มาเลือกอาชีพนี้ และสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีที่ปลอดภัย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธี MANOVA และติดตามด้วย discriminant analyses ผลที่ได้พบว่ากลุ่มผู้ขายบริการมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มคนปกติที่เป็นกลุ่มควบคุมซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 120 คน มีวัยและสถานทางเศรษฐกิจระดับคล้ายคลึงกัน พบค่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (ps < .0001) โดยที่กลุ่มชายขายบริการทางเพศมีการวิจารณ์ตนเองมากกว่า เจ้าอารมณ์มากกว่า และมีการใช้กลไกการปรับตนเพื่อปกป้องตัวเองมากกว่ากลุ่มควบคุม งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมอาชญากรกับการขายบริการ โดยได้นำข้อมูลจากแบบทดสอบของกลุ่มขายบริการไปเปรียบเทียบกับข้อมูลของกลุ่มเยาวชนที่มีพฤติกรรมเกเรจำนวน 100 คน ผลปรากฎว่ากลุ่มชายขายบริการมีทักษะทางสังคมและการปรับตัวได้ดีกว่ากลุ่มพฤติกรรมเกเร ซึ่งความแตกต่างของผลที่ได้จากกลุ่มหลังสองกลุ่มนี้เป็นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ps < .0001) สำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีและผลการวิจัยประเด็นสำคัญ ๆ ได้รายงานไว้แล้วในเนื้อเรื่อง

Because little is know about the psychology of young male prostitutes working in homosexual setting, 142 of these sex workers (M age = 21.53 years) completed Thai normed version of the Tennessee Self-Concept Scale, an ego defense mechanisms measure (Life Style Index), and the Adjective Checklist. Subjects were also interviewed about safe sex practices and the reasons for their vocational choice. Using the multivariate analyses of variance and follow-up discriminant analyses, test data from the sex workers was first contrasted those obtained form 120 normal controls of similar age and socioeconomic status. Significant differences (ps < .0001) were found with the prostitutes being more self-critical, emotional, and defensive than controls. To better understand the relationship of criminality and prostitution, scores of the sex workers and 100 delinquents were compared. Significant differences (ps < .0001) showed these groups to be psychologically distinct with the prostitutes having better social and coping skills than delinquents. Theoretical and practical implications of these findings are discussed.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
งานวิจัย