วิวัฒนาการของมโนทัศน์สิทธิมนุษยชนในประวัติภูมิปัญญาไทย

Main Article Content

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาถึงมโนทัศน์และแนวความคิดสิทธิมนุษยชนในอดีตถึงปัจจุบัน ได้แบ่งประเด็นย่อย ๆ ออกไปเป็น 3 ข้อ คือ 1) ความหมายและมโนทัศน์ของสิทธิมนุษยชนในประวัติศาสตร์สังคมไทย 2) ศึกษาและวิเคราะห์สิทธิพื้นฐานในระดับศักดินา 3) ความหมายของสิทธิสมัยใหม่หรือสิทธิมนุษยชน กล่าวโดยสรุปแม้ว่าสิทธิมนุษยชนจะเน้นที่ศักยภาพของมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้น ให้ความสำคัญที่ตนเองเป็นหลักและเป็นจุดหมายในขั้นสุดท้าย แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธสังคมและชุมชนอันเป็นสภาวะทางภววิสัยที่ทำให้มนุษย์สามารถใช้และพัฒนาเปลี่ยนแปลงอัตวิสัยของตนเองที่เป็นจริงได้ ความหมายและความสำเร็จของสิทธิมนุษยชนไม่อาจอยู่ที่การรับใช้มนุษย์ด้านเดียว หรือเป็นเครื่องมือสนองความต้องการและปัญญาความรู้ของคนเท่านั้น หากจะต้องนำไปสู่การทำให้คนตระหนักและพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีคุณค่าอย่างไร จึงจะไม่ใช่เป็นการ “ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ โดยไม่พลอยเป็นการทำลายเสรีภาพไปด้วยในขณะเดียวกัน” สิทธิมนุษยชนที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นเมื่อคนมองเห็นถึงคุณค่าของคนในฐานะ “บุคคลในชุมชน” และบุคคลที่เป็นปัจเจก “มีทั้งความใฝ่อิสรภาพและสัญชาตญาณแห่งความร่วมมือไปในขณะเดียวกันในกระบวนการดำรงชีวิต”

The article examines the concepts and ideas of human rights in the past. First it discusses the meanings of rights and human rights in historical context. Second is the examination of rights in the Thai sakdina social relations. The last is the emergence of human rights and the implications for human development. In brief, human rights should be able to address the human value and encourage the development of the self in order to attain social peace and freedom for all.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ