สังคมฝรั่งเศส (ค.ศ. 1945 - ค.ศ. 2000)

Main Article Content

จินตนา ดำรงค์เลิศ

บทคัดย่อ

ฝรั่งเศสได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นสนามรบในช่วงระหว่างสงคราม ความเสียหายนั้นมีทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ฝรั่งเศสต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาโดยผ่านทางแผนการมาร์แชลเพื่อรื้อฟื้นและพัฒนาประเทศภายหลังสงคราม ในช่วงทศวรรษแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สังคมฝรั่งเศสยังคงมีภาพลักษณ์แบบเก่าภายใต้การนำของชนชั้นกลาง ระหว่างทศวรรษ 1960-1970 โครงสร้างของสังคมฝรั่งเศสได้เปลี่ยนแปลงเป็นสังคมอุตสาหกรรมและสังคมเมืองมากขึ้นตลอดเวลา การประกอบการด้านการเกษตรน้อยลงและจำเป็นต้องมีการจัดการใหม่เพื่อให้แข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ชนกลุ่มผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในสังคมฝรั่งเศส พวกกาดเดรอะระดับสูงและระดับกลางมีบทบาทสำคัญในสังคมสมัยใหม่

เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1968 เป็นจุดหักเหของสังคมฝรั่งเศส ค่านิยมและวิถีชีวิตแบบเก่าค่อย ๆ เลือนหายไป คนฝรั่งเศสมีชีวิตอยู่ในสังคมบริโภคอย่างเต็มรูปแบบรัฐบาลฝรั่งเศสได้เริ่มดำเนินการกระจายอำนาจตั้งแต่ ค.ศ.1982 ประชาชนทั้งประเทศจึงมีโอกาสได้รับการศึกษาและการหล่อหลอมทางวัฒนธรรมในรูปแบบเดียวกันโดยอาศัยสื่อสารมวลชนสมัยใหม่เป็นหลัก นับตั้งแต่ ค.ศ.1968 เป็นต้นมา ปัญญาชนชาวฝรั่งเศสสนใจในอุดมการณ์ลดน้อยลง ประชาชนไม่ค่อยสนใจในสถาบันแบบอนุรักษ์นิยม ดังเช่น สถาบันครอบครัว การแต่งงาน และสถาบันศาสนา การว่างงานเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในสังคมฝรั่งเศสตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดกลุ่มคนยากจนใหม่ ประชากรริมขอบ ความรุนแรงและอาชญากรรมในสังคมฝรั่งเศสปัจจุบัน รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ว่าขวาหรือซ้ายจำเป็นต้องออกมาตรการหลากหลายเพื่อต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว

Being a combat terrain during the World War II, France was the victim of various casualties: physical, economic and social. France had to depend on aid from the United State under Marshall Plan, in order to rehabilitate and develop the country after the war.  During the first decade after the war, French society still kept her old identities under the leadership of the bourgeoisie. During the 60’s and 70’s, the French social structure became increasingly industrialized. Agricultural activity was declined and had to be restructured in order to be more competitive on an international scale. Salary men composed the biggest group in French society. High and middle rank technocrats (cadres), both in public and private sectors, exercised important impacts in the modern society.

May 1968 was a major turning point in French society. Old values and practices have vanished, French people are fully living in a society of consumption. Decentralization has been launched since 1982. Therefore educative and cultural uniformity is widely established all over the country mainly by means of modern mass media. Since 1968, intellectuals are less interested in ideologies. People are less concerned by conservative institutions like family, marriage and religion. Unemployment is the biggest problem of French society since 1980. It originates new poverty, exclusion, uncertainty, violence and crimes in French society at present, French government, both right and left, have to launch various measures to fight these social problems.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
รายงานวิจัย