กรรมนิยามกับปัญหาจริยศาสตร์สมัยใหม่

Main Article Content

มนตรี สืบด้วง

บทคัดย่อ

กรรมนิยามหรือกฎแห่งกรรมนี้เป็นกฎที่อธิบายถึงการกระทำและผลของการกระทำของมนุษย์ แต่ในสมัยปัจจุบันมีการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอ จนทำให้เกิดปัญหาทางจริยศาสตร์แบบใหม่ขึ้นมา ผู้เขียนพยายามอธิบายปัญหาเหล่านี้ด้วยหลักกรรมนิยามของพระพุทธศาสนา สำหรับปัญหาที่ผู้เขียนเลือกขึ้นมาวิเคราะห์ คือการโคลนนิงมนุษย์ การทำแท้ง และการุณยฆาต ด้วยเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการฆ่า และฆ่าด้วยความหวังดี ตามหลักกรรมนิยาม การกระทำเหล่านี้เป็นบาปหรืออกุศลกรรมและผู้กระทำต้องรับผลแห่งการกระทำนั้น ส่วนจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกายและคุณประโยชน์ของผู้ที่ถูกฆ่า และจิตใจของผู้ฆ่า สิ่งสำคัญที่อยากจะเสนอคือ เมื่อกระทำลงไปแล้วควรจะดำเนินชีวิตต่อตามหลักพระพุทธศาสนาด้วยความเข้าใจและมีสติกับชีวิตในปัจจุบัน ไม่หวนคำนึงถึงอดีต

Kamma-niyama or the law of karma is the Buddhist account of human actions and their consequences or effects. At present, however, the recent development is science and technology have given rise to new ethical problems. This article is an attempt to discuss these problems, especially the problems of human cloning, abortion, and euthanasia, in the light of the law of karma. This is because they are all concerned with killing. According to the law of karma, these actions are unwholesome (akusala) and the doers must undergo their consequences. The consequences are either strong or weak depending on the size and usefulness of the killed persons, and the doer’s intention. In all cases, the doer should live by right understanding and mindfulness in accordance with Buddhist principle, leaving without considering past wrong actions.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สืบด้วง ม. (2013). กรรมนิยามกับปัญหาจริยศาสตร์สมัยใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 5(1), 36–62. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/13973
บท
บทความ