The Role of Peer Collaborative Interaction in a Small Group Reading Activity on EFL Reading Comprehension

Main Article Content

Onnicha Sudachit

บทคัดย่อ

Peer collaborative interaction through text discussion activity can facilitate the learners’ text comprehension. Vygotsky’s socio-cultural theory provides insights into how knowledge is internalised through the use of language as semiotic mediation while the learners are engaged in social interaction. The learners tend to internalise the text and become more self-regulated if they are given opportunities to talk and to discuss the text with other peers who can be either more or less capable. Despite the fact that Vygotsky’s zone of proximal development (ZPD) focuses merely on how an expert helps a novice, Neo-Vygotskyan theory argues that not only less skiful but also skiful learners can benefit from working collaboratively with peers as all the learners are by nature capable in different skill and areas of knowledge. In an EFL intermediate reading classroom context, the teacher should encourage them to use L1 during a text discussion activity as L1 is seen as a meditational tool used to speak to understand. In this sense, the students use L1 to assist them to comprehend the text and to be a tool to direct the group how to cope with their reading. The teacher’s role is to scaffold the learners in the areas they cannot perform by themselves by instructing them how to read and by providing reading strategy training.

การมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของผู้เรียนในกิจกรรมการอภิปรายเนื้อเรื่องที่อ่านสามารถนำไปสู่ความเข้าใจในตัวเนื้อเรื่อง ทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของายก๊อตสกี้ ได้อธิบายไว้ว่าความรู้สามารถที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคคล บุคคลหนึ่งผ่านกระบวนการใช้ภาษาซึ่งเป็นเสมือนตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบของสัญลักษณ์ที่มีความหมายขณะที่ผู้เรียนกำลังมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งกันและกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงเนื้อเรื่องที่อ่านและสามารถที่จะควบคุมตัวเองไปในทิศทางที่เหมาะสม ขณะอ่านเรื่องหากตัวผู้เรียนได้มีโอกาสพูดและอภิปรายเนื้อเรื่องกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าหรือน้อยกว่าได้ แม้ว่าทฤษฎีของวายก๊อตสกี้ในเรื่อง zone of proximal development (ZPD) จะเน้นแต่เพียงการช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อผู้อ่อนทักษะ แต่ทฤษฎีของกลุ่มนีโอวายก๊อตสกี้ ได้แย้งว่าไม่เพียงแต่ผู้เรียนที่มีทักษะอ่อนกว่า แต่ผู้เรียนที่มีทักษะดีก็สามารถที่จะได้รับประโยชน์จากการทำงานร่วมกันได้ เพราะในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในทักษะและความรู้ที่แตกต่างกันไป ในห้องเรียนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในระดับ intermediate ผู้สอนสามารถกระตุ้นผู้เรียนให้ใช้ภาษาที่หนึ่งในระหว่างทำกิจกรรมอภิปรายตัวเนื้อเรื่องที่อ่าน เนื่องจากภาษาที่หนึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ที่ใช้พูดเพื่อสร้างความเข้าใจ ในแง่นี้ผู้เรียนใช้ภาษาที่หนึ่งเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในตัวเนื้อเรื่องที่อ่าน และเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางในการจัดการกับการอ่านของสมาชิกในกลุ่ม บทบาทของผู้สอนคือการช่วยประคับประคองผู้เรียนในเรื่องที่ผู้เรียนไม่สามารถปฏิบัติด้วยตัวเองได้ โดยสอนผู้เรียนเกี่ยวกับวิธีการอ่านและให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ฝึกฝนทักษะการอ่าน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ