รัฐเก่าในขวดใหม่: การเปลี่ยนแปลงและต่อเนื่องของรัฐและชาติในอุษาคเนย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกิดเหตุการณ์ผันผวนและมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคมในบรรดาประเทศอุษาคเนย์อย่างขนานใหญ่ เช่น วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตก เริ่มจากประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 จนนำไปสู่การมีขบวนการปฏิรูปการเมือง อันทำให้ได้รัฐธรรมนูญใหม่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 เกิดวิกฤตศรัทธาในตัวประธานาธิบดี เอสตราดาของฟิลิปปินส์และมหาธีร์ของมาเลเซีย ก่อนหน้านั้น ระบอบปกครองเผด็จการในนาม “ระเบียบใหม่” (New Order) ของประธานาธิบดีซูฮาร์โต ก็ถูกพลังประชาชนประท้วงจนต้องลาออกไปในที่สุด ยุติระบอบอำนาจนิยมที่ยาวนานที่สุดในอุษาคเนย์ลง ต่อมาก็เป็นวิกฤตของประธานาธิบดีวาฮิดแห่งอินโดเนเซีย ตามด้วยวิกฤตศาลรัฐธรรมนูญกับนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น ทั้งหมดนั้นเป็นตัวอย่างจำนวนหนึ่งของแนวโน้มใหญ่ในรัฐและการเมืองของประเทสอุษาคเนย์ในช่วงสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 และที่กำลังก้าวเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ บทความนี้ต้องการเสนอการวิเคราะห์ถึงกระบวนการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ที่มีส่วนในการสร้างรัฐและชาติใหม่ในอุษาคเนย์ หลังจากได้รับการปลดปล่อยจากแอกลัทธิอาณานิคม และปัญหาที่เกิดในกระบวนการสร้างชาติและรัฐใหม่ ในตอนสุดท้ายจะเสนอแนวการมองถึงกระบวนการใหม่ที่จะก่อตัวขึ้นในอนาคต
The paper investigates the changes and shifts of the concepts of nation and state that look place in many countries in Southeast Asia in the last decade of the 20th century. Emphasis is placed upon the historical process of state formation and development mainly after gaining independence from colonial powers. The discussion also focuses on the persistence of the old states and problem of the new societies.