นัยของการเล่านินทานในเจ้าการะเกด เรื่องรักแต่เมื่อครั้งบรมสมกัปป์

Main Article Content

เสาวณิต จุลวงศ์

บทคัดย่อ

นวนิยายเรื่องเจ้าการะเกด เรื่องรักแต่เมื่อครั้งบรมสมกัป ผลงานของแดนอรัญ แสงทอง เป็นการตอบโต้และต่อรองกับรูปแบบนวนิยายในฐานะตัวแทนของวัฒนธรรมตะวันตก นวนิยายเรื่องนี้เสนอว่านวนิยายมิได้แตกต่างและแยกขาดออกจากนิทาน หากทว่านวนิยายเป็นความต่อเนื่องของนิทาน และทั้งสองต่างมีภารกิจแรกเริ่มต่อมนุษย์แบบเดียวกันคือความบันเทิง ผู้แต่งแสดงความตระหนักถึงภารกิจดังกล่าวของนวนิยายด้วยการเสนอนวนิยายเรื่องนี้เป็นรูปของเรื่องเล่าซ้อนเรื่อง ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับนิทานซ้อนนิทานซึ่งเป็นรูปแบบของนิทานอินเดียและเปอร์เซีย กลวิธีนี้นอกจากจะทำให้เห็นถึงลักษณะที่เหลื่อมซ้อนกันระหว่างนวนิยายกับนิทานแล้วยังเป็นการรื้อฟื้นรูปแบบนิทานของตะวันออกกลับคืนมาในรูปแบบของนวนิยายตะวันตกอีกด้วย

The archaic love story of Karaked (Chao Karaked Rueang Rak Tae Mua Krung Barom Som Kap), by Dan-aran Sangthong, argues against the novel as the representative form of western culture. This story suggests that a novel is not different from and cannot be separated from a tale, and that a novel is actually a continuation of a tale. The original aim of both is to entertain. The author shows that he is conscious of his task by presenting this story in the story-within-story framework similar to emboxed Indian and Persian tales. This technique not only demonstrates the resemblance between a novel and a tale, but also revives the Asian tale-telling tradition in the western novel form.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จุลวงศ์ เ. (2013). นัยของการเล่านินทานในเจ้าการะเกด เรื่องรักแต่เมื่อครั้งบรมสมกัปป์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 7(2), 190–214. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/13357
บท
บทความ