เมืองโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการค้ากับริวกิว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารของริวกิวชื่อ “เรคิไดโฮกัน” ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ในช่วงดังกล่าว อาณาจักรรัวกิวออกเรือกว่า 100 ลำไปทำการค้ากับเมืองท่าต่าง ๆ เริ่มจากสยาม ปาเล็มบัง ชวา สุมาตรา มะละกา ปัตตานี ซุนดา และอันนัม เพื่อนำของป่าและเครื่องเทศไปถวายเป็นของรรณาการแด่จีน และนำสินค้าจากจีนและญี่ปุ่นมาขาย ด้วยเหตุผลทางการค้านี้ทำให้ริวกิวและเมืองท่าต่าง ๆ มีการติดต่อกันทางจดหมายและสาส์นระหว่างกษัตริย์ด้วยกัน ทำให้เรารู้เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองท่าต่าง ๆ ในอีกแง่มุมที่เอกสารจีนหรือโปรตุเกสไม่ได้ให้ไว้ เช่น ความสัมพันธ์ในรูปแบบที่นอกเหนือจากการค้า สินค้าและบทบาทชาวจีน นอกจากนี้เส้นทางการค้าของริวกิวที่มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตและล่มสลายของเมืองท่าทางการค้าของภูมิภาคนี้ด้วย
This paper studies the history of post cities in Southeast Asia by focusing on a Ryukyuan document called Rekidai Hoan. This document covers correspondences between the Ryukyu Kingdom and states, or port cities are Siam, Palembang, Java, Sumatra, Malacca, Pattani and Annam. Ryukyu sent over 100 ships to these places in order to buy forest products and pepper to pay tribute to the Ming, and bought a large amount of Chinese and Japanese products to the region. According to the letters, replies, and voyage certificates, Rakidai Hoan provides information about pre-modern Southeast Asia not seen go beyond commercial activities, merchandise and the role of Chinese communities. At the same time the trade route from Ryukyu to Southeast Asia reveals the rise and demise of each port cities over the two centuries.