ผู้หญิงของเฮมิงเวย์ ศึกษาจากกรณี "แคมป์คนอินเดียน"
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความ “ผู้หญิงของเฮมิงเวย์ ศึกษาจากกรณี ‘แคมป์คนอินเดียน’” สำรวจสถานะของเฮมิงเวย์และผลงานของเขาภายใต้กระแสแนวคิดสตรีนิยมในวงวรรณกรรมศึกษา โดยเฉพาะในประเด็นที่งานของเขาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าแสดงทัศนะเกลียดและรังเกียจผู้หญิงอย่างโจ่งแจ้ง ดังจะเห็นได้จากภาพเสนอของผู้หญิงในงานเฮมิงเวย์ล้วนต้องเป็นผู้หญิงที่ไม่ปกติทั้งสิ้น บทความได้หยิบยกเรื่องสั้น “แคมป์คนอินเดียน” มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงกระบวนการสร้างภาพความเป็นหญิงและความเป็นชาย และชี้ให้เห็นว่าแม้แต่ในงานที่ถือว่าแสดงความเห็นอกเห็นใจและยกย่องผู้หญิงย่างเรื่องสั้นชิ้นนี้เรายังพบร่องรอยของความหวาดวิตกและหวาดระแวงในความเป็นผู้หญิง โดยเฉพาะเพศวิถีของผู้หญิง พร้อมกับนัยที่มุ่งเชิดชูคุณค่าความเป็นชายแกร่งตามแบบฉบับฮีโร่ของเฮมิงเวย์
Hemingway’s Women: A case study from ‘Indian Camp’” surveys the status of Hemingway and his works after the wake of feminist criticism. Heavily criticized as expressing overtly misogynistic views, most of his works, according to various feminist critics, often depict women as ab/un-normal in one way or another. The article uses a short story “Indian Camp” as a case study to explore how manhood and womanhood are represented. Despite its apparent sympathetic and admiring view of a woman, the story conveys a latent fear and distrust of women and female sexuality while implicitly exalting a protype of Hemingway macho hero.