กาพยลีลา: ฉบัง

Main Article Content

โชษิตา มณีใส

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเสนอความรู้จากการศึกษาเรื่องกาพย์ฉบังเพื่อให้ชี้ให้เห็นความน่าสนใจและคุณค่าความสำคัญของรูปแบบร้อยกรองชนิดนี้ในกวีนิพนธ์ไทยโดยจะกล่าวถึงความเป็นมา ลักษณะท่วงทีลีลา บทบาทความสำคัญในวรรณกรรมร้อยกรองไทย ศิลปะการประพันธ์ที่ใช้กับกาพย์ฉบัง ตลอดจนพัฒนาการด้านรูปแบบ ด้านลักษณะไพเราะ และด้านที่ใช้กาพย์ชนิดนี้ ผลจากการศึกษาพบว่ากาพย์ฉบังปรากฏในวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยาตอนต้นโดยไม่ทราบที่มาแน่ชัดกาพย์ฉบังมีความสำคัญถึงขั้นที่กวีโบราณใช้แต่งบทนมัสการ แต่กาพย์ฉบังก็มีที่ใช้อย่างหลากหลายเพราะมีลักษณะทางฉันทลักษณ์ที่ยืดหยุ่น และมีท่วงทีลีลาเฉพาะตัวที่ทำให้สามารถปรับใช้ได้กับเนื้อหาและรูปแบบร้อยกรองชนิด/ประเภทอื่นได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน กาพย์ฉบังมีการใช้ศิลปะการประพันธ์ประเภทที่มีการซ้ำเสียงซ้ำคำในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่สุด ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะไพเราะของกาพย์ฉบังเปลี่ยนเป็นเรื่องของการใช้สัมผัสแบบที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน ในอดีตกาพย์ฉบังเคยมีความสำคัญประหนึ่งฉันท์ ต่อมาก็ค่อยลดความสำคัญลง ปัจจุบันคงความสำคัญอยู่เฉพาะในวรรณกรรมสืบทอดขนบและวรรณกรรมพิธีกรรม

The aim of this article is to reveal the investing aspects and important role of Kaab Chabang in Thai poetry by focusing on its peculiar style and the development of its form and prosody and its function in Thai society. Kaab Chabang was found in Thai literature since early Ayudhaya period, but its source cannot be traced. It was significantly wrote as benedictory verse. However, due to its flexible prosodic pattern, it was also widely used in combination within other poetic forms on various occasions. The dominant characteristics of Kaab Chabang is the various forms of sound repetition. In early Rattanakosin period, some special rhyme was added for musicality and this form has become popular until now. In former times, Kaab Chabang was as important as Chand, a kinf of Sanskrit prosody. At present, its significance is reduced as only traditional and ritual literature.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ