ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างระหว่างเพศ ความเชื่ออำนาจในการควบคุมและการประเมินสภาวะแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือวัดประเมินสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ศึกษาผลการประเมินสภาวะแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างระหว่างเพศ ความเชื่ออำนาจในการควบคุม และการประเมินสภาวะแวดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบตัวแปรข้อมูลบุคคลด้านสายวิชาที่ศึกษกับการประเมินสภาวะแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน 554 คน ผลการศึกษาพบว่าแบบประเมินสภาวะแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (EARC) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้มาตรซีเมนติค ดิฟเฟอเรนเชียล (semantic differentials scale) มีจำนวนทั้งสิ้น 59 ข้อ 9 องค์ประกอบ คือ ความชื่นชอบ ความสวยงาม เร้าใจ การจัดระบบ การมีรูปแบบ ความแข็งแรงและเชื่อมโยง ความสงบผ่อนคลาย ขนาดและสัดส่วน ความรวดเร็วและมั่นคง ความชัดเจนและเรียบง่าย (ค่า α = 0.9427, ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.407-0.783 และค่าร้อยละของความแปรปรวน = 48.436) และผลจากการวิเคราะห์ตัวแปร พบว่าการประเมินสภาวะแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (EARC) มีความสัมพันธ์กับความเชื่ออำนาจในการควบคุม และสายวิชาที่ศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความแตกต่างระหว่างเพศ รวมทั้งพบว่านักศึกษาที่ศึกษาในสายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ประเมินสภาวะแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ต่ำกว่านักศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.010)
The purpose of this research is to construct the Environmental Appraisal of Rangsit Campus (EARC), to study the results of the environment appraisal, to investigate the relationship of gender different locus of control and environmental appraisal of Thammasat University students, Rangsit Campus and to compare the differences of evaluation in Environmental Appraisal of Rangsit with student’s major. The sample was drawn from 2nd year students of Thammasat University who all studied at Rangsit Campus. The total number was 554. The findings yielded that the environmental Apprarisal of Rangsit Campus (EARC), constructed by the researcher, had 59 items with 9 components: preference, beauty and arousal, organization, style, strength and linkage, calm and relax, area and figure, agility and firm, and clarify and simplicity. (α=0.9427, factor loading = 0.407-0.783, percent of variance = 48.436). The analysis of variables indicated that there were significant differences between EARC with locus of control and student’s major. The student’s major in Social Science and Humanities evaluated EARC significantly lower than student’s major in Science and Health Science. (p=0.010)