การละเมิดกรอบจารีตสังคมในวรรณกรรมกอธิกไทย: กรณีศึกษาชนชั้นและเพศสถานะในปราสาทมืด

Main Article Content

สุรเดช โชติอุดมพันธ์

บทคัดย่อ

วรรณกรรมกอธิกไม่ได้เป็นเพียงวรรณกรรมที่นำเสนอเรื่องภูติผีปีศาจและเรื่องลี้ลับเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้นหรือสยองขวัญเท่านั้น หากแต่วรรณกรรมกอธิกยังนำเสนอปรากฏการณ์ที่สังคมสมัยหนึ่ง ๆ พยายามปฏิเสธหรือปิดกั้นโดยผ่านองค์ประกอบที่เหนือจริงหรือที่ละเมิดกรอบจารีตของสังคม งานวิจัยนี้มุ่งศึกษานวนิยายกอธิกไทยเรื่อง ปราสาทมืด ของจุลลดา ภักดีภูมินทร์ โดยเปรียบเทียบกับนวนิยายกอธิกตะวันตกสองเรื่องคือ เจนแอร์ ของชาร์ล็อตต์ บรองเตและ รีเบกกา ของดาฟเน ดู โมริเยเพื่อศึกษาความเหมือนและความแตกต่างในการละเมิดกรอบจารีตในงานเขียนทั้งสามผ่านองค์ประกอบกอธิกในงาน โดยเฉพาะในประเด็นเพศสถานะและชนชั้น

Ghostly and mysterious elements in gothic literature are used not only to terrorize the audience, but also function as poignant parameters that tellingly reveal social groundrule that culturally designate what is normative and what is prohibited. This research aims to analyse Prasat Muet, a Thai gothic novel written by Chulada Phakdiphumin, in relation to its two Western counterparts, Jane Eyre by Charlotte Brontë and Rebecca by Daphne du Maurier, with a view to investigating the similarities and differences in social transgression through their gothic elements, especially in terms of gender and class.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ