ความเป็นเพศหญิงกับมโนทัศน์เชิงเสรีภาพในทัศนะของรุสโซ

Main Article Content

มุจลินท์ เสถียรมาศ

บทคัดย่อ

รุสโซมีทัศนะว่า เป้าหมายของมนุษย์ที่ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม คือการบรรลุเสรีภาพ รุสโซกล่าวว่าในสังคมการเมือง มนุษย์จะบรรลุเสรีภาพนี้ได้โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย แต่รุสโซก็มีทัศนะด้วยว่าผู้หญิงไม่ควรมีหน้าที่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง จึงเกิดปัญหาว่า สำหรับรุสโซ ผู้หญิงสามารถบรรลุเสรีภาพนี้ได้หรือไม่

บทความฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์ทัศนะของรุสโซเรื่องเสรีภาพ เพื่อวินิจฉัยว่า ในกรอบความคิดของรุสโซ ผู้หญิงบรรลุเสรีภาพได้หรือไม่ จากมโนทัศน์เรื่องเสรีภาพในสภาพธรรมชาติที่ทั้งสองเพศมีเหมือนกันมาสู่พื้นที่ทางสังคม เมื่อกระบวนการบรรลุเสรีภาพผ่านการมีส่วนร่วมในทางการเมืองเป็นหนทางเดียวที่รุสโซอธิบายไว้อย่างชัดเจน บทความนี้จึงต้องการตรวจสอบว่าถ้าผู้หญิงไม่สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้แล้ว ผู้หญิงจะขัดกับหลักการดังกล่าวหรือไม่ อนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างเพศตามทัศนะของรุสโซ เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพากัน และทั้งสองเพศมีจุดหมายร่วมกัน และต่างไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ถ้าขาดอีกเพศหนึ่ง ดังนั้นการบรรลุเสรีภาพของผู้หญิงจึงไม่ได้มีนัยยะที่ต่ำกว่าของผู้ชาย

นักปรัชญาสายสตรีนิยมบางคนโจมตีรุสโซมองผู้หญิงต่ำกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงต้องเชื่อฟังผู้ชาย และแนะโดยนัยว่า ผู้หญิงในทัศนะของรุสโซไม่สามารถบรรลุเสรีภาพได้ บทความนี้ปรารถนาจะชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ผู้หญิงจะไม่มีส่วนร่วมทางการเมือง แต่สามารถมีเสรีภาพได้ เพราะเมื่อวิเคราะห์ทัศนะของรุสโซเรื่องการลงคะแนนเสียง ก็จะพบว่า การมีส่วนร่วมมิใช่เงื่อนไขจำเป็นของการมีเสรีภาพในพื้นที่ทางการเมือง รุสโซจึงไม่ได้ปิดกั้นการบรรลุเสรีภาพของผู้หญิง

Rousseau believes that the goal of man in society is to realize freedom. He says that in civil society men can realize this freedom by participating in legislation. But Rousseau also holds the view that women must not participate in political affairs. The problem arises whether for Rousseau women can attain freedom.

This article aims to analyze Rousseau’s views on sexual differences in order to determine whether in his framework women are able to achieve freedom. Based on the concept of natural freedom, both sexes have the same rights in society. The process of participating in legislation is only one obvious way, as Rousseau explains. This article examines the question, if women cannot participate in political affairs, does this contradict with that principal? Since the sexual relation for Rousseau is one of mutual dependence and both sexes share a common aim, the two sexes cannot live without each other. Therefore women’s freedom does not have a different status from men’s.

Some feminist philosophers criticize Rousseau for portraying women as inferior to men since they have to obey men, and thus imply that for Rousseau women cannot attain freedom. The article argues that Rousseau’s view on voting reveals that participation is not a necessary condition of the attainment of freedom in the political arena. He does not rule out women from attaining freedom.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ