ปริมณฑลสาธารณะ (public sphere) ในประวัติศาสตร์จีนปลายราชวงศ์ชิง (1840s-1810s)

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ ปลื้มปัญญา

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการแสดงถึงลักษณะปริมณฑลสาธารณะในประวัติศาสตร์จีนช่วงปลายราชวงศ์ชิง (1644-1911)  ที่มีบริบททางประวัติศาสตร์และกรอบทางวัฒนธรรมที่ต่างออกไปจากตะวันตก ปริมณฑลสาธารณะในจีนนั้นเป็นผลจากรูปแบบทางสังคมดั้งเดิมที่สร้างพื้นที่ให้ปัญญาชนชาวจีนมีบทบาทในสังคมจีนอย่างเข้มแข็ง และเมื่อรัฐไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้ ปัญญาชนจีนจึงใช้พื้นที่ดังกล่าวเข้ามามีบทบาทในการจัดการท้องถิ่นมากขึ้น จนกระทั่งสื่อสมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมจีน ปัญญาชนชาวจีนจึงใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนี้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความคิดของพวกเขาและสร้างพื้นที่ถกเถียงให้เกิดขึ้นในสังคม บทความนี้จะนำเสนอรูปแบบพัฒนาการดังกล่าว และอธิบายว่าเหตุใดปริมณฑลสาธารณะในจีนจึงแตกต่างจากปริมณฑลสาธารณะในยุโรป

This article attempts to describe the apparent public sphere during the latter period of Qing Dynasty whose historical and culture framework differs from the one in Europe. China’s public sphere is a result of its traditional civil society which designates a constant stronger role in society for its intelligentsia. Qing Dynasty’s inability to relieve local disasters triggers a political turmoil caused by its intelligentsia who aim for a broader and higher position in the local administration. As a result of modern media’s more prominent role in Chinese society, Chinese intelligentsia takes advantage of this modern technology to propagate and disseminate their ideas and to arrange for a more discussible sphere in the community. This article tries to illustrate this revolution in media and tries to explain why the Chinese public sphere differs from the one in western culture.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปลื้มปัญญา จ. (2013). ปริมณฑลสาธารณะ (public sphere) ในประวัติศาสตร์จีนปลายราชวงศ์ชิง (1840s-1810s). วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12(1), 111–127. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/11474
บท
บทความ