พื้นที่กับการสร้างอัตลักษณ์ของชาวแอฟริกันอเมริกันในนวนิยายเรื่อง ซอง ออฟ โซโลมอน (Song of Solomon) ของ โทนี มอริสัน (Toni Morrison)

Main Article Content

ธาริตา อินทนาม

บทคัดย่อ

นวนิยายเรื่อง Song of Solomon เป็นนวนิยายซึ่งแต่งโดยนักเขียนหญิงชาวแอฟริกันอเมริกัน เนื้อเรื่องมุ่งนำเสนอการเดินทางเพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของชายชาวแอฟริกันคนหนึ่ง และจากการนำเสนอเรื่องราวจากมุมมองของนักเขียนผิวสี อัตลักษณ์ของชาวแอฟริกันอเมริกันจึงถูกนำมาตีความใหม่ผ่านการต่อรองและความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างชุดความเชื่อและคุณค่ากระแสหลักกับกระแสรองที่ถูกกดทับไว้ โดยนำเสนอในประเด็นที่หลากหลายอย่าง ชาติพันธุ์ ชนชั้น และเพศสถานะ การสร้างความหมายใหม่ให้กับอัตลักษณ์ความเป็นแอฟริกันอเมริกันนี้นำไปสู่การทบทวนความคิดเรื่องความเป็นอเมริกัน หรืออัตลักษณ์แบบอเมริกันใหม่ เนื่องจากประเด็นนี้ได้กระตุ้นผู้อ่านให้มองประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกาในมุมมองใหม่บนพื้นฐานมาจากประวัติศาสตร์ของทาสแอฟริกันหรือประวัติศาสตร์แอฟริกันอเมริกัน

บทความนี้มุ่งสำรวจการสร้างอัตลักษณ์ของชาวแอฟริกันอเมริกันผ่านมุมมองเรื่องพื้นที่ เนื่องจากการศึกษาเรื่องพื้นที่ช่วยให้ผู้อ่านตระหนักถึงการมีอยู่ของชุดความเชื่อและคุณค่าหลักที่ฝั่งตัวอยู่ในแต่ละพื้นที่และผลกระทบที่มีต่อการสร้างอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล พื้นที่ที่มีชุดความเชื่อและคุณค่าต่างๆ กันสามารถสร้างผลกระทบต่อการสร้างอัตลักษณ์ที่มีความแตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทความนี้ต้องการนำเสนอลักษณะของพื้นที่ที่เรียกว่า “พื้นที่ซ้อนทับ”  (Heterogeneous space) หรือพื้นที่ที่สาม (Third space) ที่มีอิทธิพลต่อปัจเจกบุคคลชาวแอฟริกันอเมริกันในการจัดการกับชุดความเชื่อและคุณค่าที่แตกต่างหลากหลายและหลอมรวมเข้ากับประสบการณ์ส่วนตัวของคน ก่อให้เกิดการสร้างอัตลักษณ์ที่เรียกว่า “อัตลักษณ์ทับซ้อน” (Heterogeneous Identity) การศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ผ่านมุมมองเรื่องพื้นที่นี้จะช่วยเปิดมุมมองใหม่ให้ผู้อ่านเห็นการสร้างอัตลักษณ์เป็นขั้นตอนที่ดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น และอัตลักษณ์ไม่ใช่สิ่งตายตัวหรือถูกกำหนดกรอบด้วยรูปลักษณ์ทางกายภาพและประวัติศาสตร์เท่านั้น

Song of Solomon is a novel focusing on the journey to self-discovery of an African-American man written from the perspective of an Africa-American female author. Treated from the Black female point of view, African-American identity is reinterpreted through the negotiation and dynamic relationship between the mainstream and suppressed ideologies in diverse aspects of race, class, and gender. The reinterpretation of African-American identity leads to the reinscription of the nation ideology --- American identity --- as the author’s exploration evokes the readers to see American history in a new light, based on African or African-American history.

This article aims to explore African-American formation of identity through the lens of space in the novel, since it helps crystallize the dominant ideologies that have tremendous influence on identity construction. Spaces embodying different dominant ideologies can affect the formation of various kinds of identity. Especially, this article also  introduces “heterogeneous space” or “third space” as the important kind of space enabling a Black individual to combine various ideologies with one’s own experience and forming what is called “heterogeneous identity”. Through the study of space, it hopes to shed light on identity construction as it is an ongoing process and identity is not fixed or completely predetermined by biology and history

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อินทนาม ธ. (2013). พื้นที่กับการสร้างอัตลักษณ์ของชาวแอฟริกันอเมริกันในนวนิยายเรื่อง ซอง ออฟ โซโลมอน (Song of Solomon) ของ โทนี มอริสัน (Toni Morrison). วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12(1), 57–89. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/11471
บท
บทความ