ร่วมอภิรมย์ หรือข่มขืน: มุมมองใหม่ต่อบทอัศจรรย์ในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

Main Article Content

เสาวณิต จุลวงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งหมายที่จะอ่านฉากสังวาสในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นบางตอนด้วยการมองใหม่ เพื่อเปิดเผยให้เห็นกระบวนการกลบเกลื่อนและกดทับการล่วงละเมิดในวรรณคดีไทย การมองใหม่เผยให้เห็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (power relation) ในการกำหนดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "ข่มขืน" และเหตุการณ์ที่เรียกว่า "ร่วมอภิรมย์" ซึ่งสะท้อนว่าแง่มุมในการตัดสินทางจริยศาสตร์ของสังคมไทยเกี่ยวข้องกับสถานะทางสังคมของผู้กระทำ และประโยชน์จากการกระทำ มากกว่าการกระทำนั้นเอง

 

The article attempts to re-vision some love scenes in early Rattanakosin period literature to reveal distortion and suppression of transgression in Thai literature. The re-vision sheds light on the politics of designating the act of intercourse as rape or consensual affair. The findings reflect how the ethical judgment in Thai society depends on the social depends on the social status and intention of the actors, and the utility of the act rather than the act of intercourse itself.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ