ตำแหน่งการปกครองและระบบไพก์ในอาณาจักรอาหม ค.ศ. 1228 - 1826

Main Article Content

ขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

กลวิธีในการบริหารบ้านเมืองของคนไทกลุ่มหนึ่งที่ตั้งรกรากสร้างอาณาจักรบนดินแดนกามรูป อินเดีย ท่ามกลางชนท้องถิ่นที่เข้มแข็งน่าหวั่นเกรงและดำรงอยู่นานถึงหกศตวรรษย่อมมีระบอบวิธีการบริหารจัดการ ที่แข็งแกร่งเหนือความเข้มแข็งของชนท้องถิ่นเดิมที่มีหลากหลายกลุ่ม จึงนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าเอกสารในประเด็นตำแหน่งหน้าที่ของขุนนางและการเกณฑ์แรงงานสามัญชนชายหรือไพก์ซึ่งมีความสำคัญทั้งต่อบ้านเมืองและเป็นดัชนีแสดงยศของข้าราชการ พร้อมได้ทบทวนเทียบบางประเด็นระหว่างไพก์และไพร่โดยสังเขป บทความทางวิชาการนี้ได้พบว่า จากศูนย์กลางกระจายอำนาจแตกแขนงทั่วถึง ตำแหน่งข้าราชการสูงสุดหรือรัฐมนตรีแรกเริ่มคือ เจ้าเฒ่าหลวง เจ้าพรองเมือง และเพิ่มภายหลัง เจ้าสึงหลวง ผู้แก่หลวง และเฒ่าเมือง ผู้แก่หลวงหรือบาร์ผู้กานประจำเมืองหน้าด่านมีอำนาจรองจากกษัตริย์ แต่ละตำแหน่งประกอบด้วยสายขุนนางลดลั่นตามลำดับโดยจำแนกตามงานและเขตพื้นที่ ไพก์ทุกคนได้รับการฝึกทักษะทั้งพลเรือนและทหาร ไพก์ในสังกัดหรือเขลของขุนนางเป็นสิ่งแสดงลำดับยศ หลังจากประจำการไพก์ได้รับเกียรติจากชุมชน ไพก์และไพร่ของไทยมีความต่างและคล้ายคลึงในแง่คุณค่าไพก์ได้รับการยกย่องและเกียรติประวัติ ไพร่ได้รับการสักข้อมือแสดงถึงการเกณฑ์และกำหนดบอกสถานะ ทั้งนี้ไพก์และไพร่ต่างเป็นสิ่งชี้ศักดินาของขุนนาง อีกทั้งการศึกษานี้ยังถือเป็นการทำความรู้จักคนไทแขนงนี้ผ่านตำแหน่งราชการในการบริหารปกครองและระบบไพก์ซึ่งเป็นฐานหลักสำคัญของอาณาจักร

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วงศ์กาฬสินธุ์ ข. (2017). ตำแหน่งการปกครองและระบบไพก์ในอาณาจักรอาหม ค.ศ. 1228 - 1826. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 17(2), 127–159. https://doi.org/10.14456/lartstu.2017.13
บท
บทความวิชาการ

References

ขจร สุขพานิช. (2519). ฐานันดรไพร่. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

จิตร ภูมิศักดิ์. (2550). โฉมหน้าศักดินาไทย. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์. (2552). การศึกษาประวัติศาสตร์อาหม. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ปิยะฉัตร ปิตะวรรณ. (2526). ระบบไพร่ในสังคมไทย พ.ศ. 2411-2453. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพิรมย์ เอี่ยมธรรม. (2527). ไพร่ในสมัยอยุธยา. ในฉัตรทิพย์ นาถสุภา และสมภพ มานะรังสรรค์ (บรรณาธิการ), ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484 (น. 7-87). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Baruah, S.L. (1985). A Comprehensive History of Assam. New Delhi: Munshiram Manoharlal.

Bhuyan, Surya K. (1933). Tungkhungia Buranji. Calcutta: Oxford University Press.

______. (1969). Satsari Assam Buranji. Gauhati: Division.

______. (1985). Studies in the History of Assam. Gauhati: Omsons.

Choudhury, Pratap. (1991). ‘The Brahmaputra Valley: Tt’s Civilization’. In Saikia, Nagen.(Ed.), Assam and the Assamese Mind. Jorhat: Nabajiban.

Gait, Edward. (2005). A History of Assam. Guwahati: LBS.

Hazarika, Nilam. (2015). A Study in the Ahom Military Syatem in Medieval Assam. International Journal of Humanities and Social Science Invention, 4(6), 17-22.

Ghosh, Lipi. (2007). Tai Cultural Matrix in Indian History: A Study of Tai-Ahom Heritage in Northeast India. Prachya A Journal on Asia: Past & Present, 2, 32-56.

Phukan, J. N. (2007). ‘The Tai-Ahom Power in Assam’. In Barpujari, H.K.(Ed.), The Comparative History of Assam Vol. II. Guwahati: Publication Board Assam.

Saikia, Nagen. (1980). Assam and the Assamesse Mind. Jorhat: Asam Sahitya Sabha.

Saikia, Sayeeda Yasmin. (1997). In the Meadows of Gold. Guwahati: Spectrum.

Sarkar, J.N. (2007). ‘The Ahom Admistration’. In Barpujari, H.K.(Ed.), The Comparative History of Assam Vol. III. Guwahati: Publication Board Assam.

Singh, B.P. (1998). Indian’s Culture: The State, the arts and Beyond. New Dehli: Oxford University.