ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการสร้างแบบจำลองนวัตกรรม ทางการตลาด 5.0 เพื่อกลับมาใช้บริการซ้ำผู้ใช้บริการกลุ่มช่วงอีก สำหรับวัยวายของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • โศรดา พาหุวัฒนกร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • จำเนียร จวงตระกูล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ตระกูล จิตวัฒนากร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, แบบจำลองนวัตกรรมทางการตลาด 5.0, กลับมาใช้บริการซ้ำ, Gen Y, สายการบินต้นทุนต่ำ, การตลาดนวัตกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง โดยรวบรวมจากการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามโดยตรงหรือตอบแบบสอบถามผ่านทาง Google Form โดยวิธีการสุ่มเจาะจง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิโดยใช้แบบบังเอิญ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยถึงต้องการของผู้ใช้บริการของท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิแสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการแปลระดับความต้องการพบว่าภาพรวมภาพรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องกาของผู้ใช้บริการท่าอากศยานนานาชาติสุวรรณภูมิอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.72 เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ภาพรวมด้านการให้บริการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.12 ภาพรวมด้านผลิตภัณฑ์(ท่าอากาศยาน)อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.81 ภาพรวมด้านอัตราเที่ยวบิน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.44 และภาพรวมด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.41 ตามลำดับทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยทั้ง 4 ด้านที่ส่งผลต่อการใช้บริการของผู้ใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิโดยมีด้านการให้บริการรองลงมาด้านผลิตภัณฑ์(ท่าอากาศยาน) ด้านอัตราเที่ยวบิน และด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับนอกจากนี้ สัมประสิทธิ์การกำหนด (R2 = 0.587) แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลด้านการให้บริการรองลงมาด้านผลิตภัณฑ์(ท่าอากาศยาน) ด้านอัตราเที่ยวบิน และด้านสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 58.7 ที่เหลืออีก ร้อยละ 41.3 เป็นผลเนื่องจากตัวแปรอื่น

References

กมลฉัตร ยมภักดี. (2561). กลยุทธ์การตลาดของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำสำหรับผู้ใช้บริการกลุ่ม Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรมสุขภาพจิต. (2560). รายงานภาวะสังคม ไตรมาส 2/2560. สืบค้น 26 มกราคม 2567, จากhttp://social.nesdb.go.th/ รายงานภาวะสังคมQ2-2560_final_243.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกร สิริสุคันธา และสุทธินันท์ พรหมสุวรรณ. (2560). ความสัมพันธ์ของคุณภาพบริการ การรับรู้คุณค่า ภาพลักษณ์สายการบินและความพึงพอใจของลูกค้า ที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อบริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(2), 1-16.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York: Free Press.

_____. (1996). Building strong brands. New York: Free Press.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Jacoby, D. & Kyner, D. B. (1973). Brand loyalty vs. repeat purchasing behavior. Journal of Marketing Research, 10(1), 1-9.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2014). Principle of Marketing (15th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P. (2021). Marketing 5.0: Technology for humanity. Model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2-22.

Naeem, M. et al. (2023). A step-by-step process of thematic analysis to develop a conceptual model in qualitative research.

International Journal of Qualitative Methods, 22, 1–18.

Parasuraman, A. et al. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.

Zeithaml, V. A. (1988). Consumer Perceptions of Price, Quality and Value: A Means-End Model and Synthesis of Evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

พาหุวัฒนกร โ., จวงตระกูล จ., & จิตวัฒนากร ต. (2024). ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการสร้างแบบจำลองนวัตกรรม ทางการตลาด 5.0 เพื่อกลับมาใช้บริการซ้ำผู้ใช้บริการกลุ่มช่วงอีก สำหรับวัยวายของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 374–385. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/283192