การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทุบรี
คำสำคัญ:
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 194 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 5 ด้าน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ของงานการบริการดีขึ้น และยังได้รับการพัฒนาด้านจริยธรรม มีความร่วมแรงร่วมใจทำงานเป็นทีม และยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในจังหวัดนนทบุรี ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ พบว่าตัวแปรทั้ง 4 มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่มีคุณภาพร้อยละ 63.50 3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ปัญหาของการบริหารงานส่วนมากเกิดจากปัจจัยในหลายๆ ด้านด้วยกัน เช่น การบริหารงานไม่มีธรรมาภิบาล โครงสร้างที่ไม่คล่องตัว กฎระเบียบและเทคโนโลยีล้าสมัย กำลังคนไม่มีคุณภาพ บุคลากรยังไม่ชำนาญในการปฏิบัติงานในตำแหน่งของตัวเอง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรใช้รูปแบบการฝึกอบรมซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาสมรรถนะพนักงานให้หัวหน้างานเบื้องต้นเป็นผู้พัฒนา หน่วยงานจัดพัฒนาให้การอบรม ส่งไปอบรม สมรรถนะทุกด้าน พัฒนาหลากหลายรูปแบบอย่างสม่ำเสมอ
References
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2547). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แซทโฟร์ พริ้นติ้ง.
บุญแสง ชีระภากร. (2552). ภาวะผู้นำและการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประสาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2551). ยุทธศาสตร์ การบริหารการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลในยุคโลกาภิวัตน์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2545). การปกครองท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศาลาพระเกี้ยว.
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ. (2552). แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.
อำนาจ วัดจินดา. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารดำรงราชานุภาพ. 6(22), 24-28.
อุทัย โล้วมั่นคง. (2552). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น