ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • วรรณีศา สีฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ศักยภาพของชุมชน, การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว, ตำบลหนองจอก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาศักยภาพของชุมชนในพื้นที่ตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 2. สร้างเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนพื้นที่ตำบลหนองจอกอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีมากำหนดเป็นนโยบายในแผนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลหนองจอกโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 350 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาพื้นที่สู่เส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พบว่า ในภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ศักยภาพและข้อเสนอแนะของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาพื้นที่สู่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงอย่างยั่งยืนพบว่า ประชาชนมองเห็นว่าชุมชนมีศักยภาพในเรื่องของความสามัคคีกัน มีความร่วมมือกันอย่างมากใกล้ชิดกัน เอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันรวมทั้งมีทัศนคติที่ดีต่อกันทั้งในชุมชน และกับหน่วยงานของรัฐมีการติดต่อสื่อสารต่อกันสม่ำเสมอ ข้อเสนอแนะคือต้องการให้หน่วยงานภาครัฐให้ความรู้ในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์

References

กนกพล จันทะรักษา. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการทางน้ำครบวงจรที่มนุษย์สร้างขึ้น (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). คู่มือแนวทางการจัดการที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ฐณผการจ คงอินทร์. (2545). การศึกษาศักยภาพของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านนาตีน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทพกร ณ สงขลา และบัญชา สมบูรณ์สุข. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกิจกรรมการม่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรเกษตรของชุมชนชน : กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(2), 1-12.

นาฏสุดา เชมนะสิริ และคณะ. (2549). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 2(3), 69-79.

ปองพล ธวัลหทัยกุล และคณะ. (2550). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมในกลุ่มจังหวัดอีสานใต้ (รายงานการวิจัย). ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา.

Goeldner, C. & Ritchie, J. R. B. (2006). Tourism: principles, practices, philosophies (10th ed.). Hoboken: Wiley.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper International Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite

สีฟ้า ว. (2024). ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 106–115. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/272055