การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การบริหารโรงเรียนคุณธรรม, โรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ 2. สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ 3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ และ 4. ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำนวน 182 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ มี 5 องค์ประกอบ 27 ตัวบ่งชี้ ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 การวางแผนโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ มี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การพลิกโฉมกลไกการปฏิบัติ มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การกำหนดนิเทศติดตามงาน มี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณธรรมยุคใหม่ มี 5 ตัวบ่งชี้ และ องค์ประกอบที่ 5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน มี 5 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการพลิกโฉมกลไกการปฏิบัติมีความต้องการจำเป็นสูงสุด และรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1. หลักการแนวคิด 2. วัตถุประสงค์ 3. วิธีดำเนินการ 4. การประเมินผล และ 5. เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าผลการประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมพัฒนาหลังได้รับการพัฒนาสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมยุคใหม่ พบว่าผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นว่ามีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ชาญชิต ทับหมี. (2564). รูปแบบการพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(7), 344-358.
ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2563). รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). นครปฐมฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
นรินทร์ ขวัญคาวิน และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(3), 164-181.
บันลือ โกมลศรี และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 9(7), 2993-3007.
มูลนิธิยุวพัฒน์. (2564). หลักการและกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม 4+6 โมเดล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4), 1-16.
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2564). รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2564. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สวัสดิ์ วันภูงา. (2564). การพัฒนารูปแบบการใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กาฬสินธุ์: หยกศึกษาภัณฑ์และการพิมพ์.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2560). แนวทางการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น