การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • กุลภัสสรณ์ สู่โนนทอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดนิตา ดวงวิไล มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. พัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และ 2. พัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีคะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 33 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย 1 ห้องเรียน โรงเรียนบ้านเหลื่อมพิทยาสรรพ์ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบ One -Group ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในห้องเรียนตามแนวคิดของ Kemmis & Mc Taggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นวางแผน 2. ขั้นปฏิบัติการ 3. ขั้นสังเกตการณ์ 4. ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PBL ใช้เครื่องมือในการทดลองปฏิบัติการด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 วงจร ๆ ละ 4 แผนรวม ทั้งสิ้น 12 แผนละ 50 นาที และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และ 2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 25.48 คิดเป็นร้อยละ 84.95 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 1.60 นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์มีจำนวน 29 คนคิดเป็นร้อยละ 87.87 2. นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 24.61 คิดเป็นร้อยละ 82.02 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97 นักเรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์จำนวน 30 คนคิดเป็นร้อยละ 90.90

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณชานันท์ ประเสริฐสุข. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิศนา แขมมณี. (2546). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประจักษ์ น้อยเหนื่อย และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และความซาบซึ้งในวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. Academic MCU Buriram Journal, 6(2), 128-143.

พันธุ์ทิพย์ เกื้อเพชรแก้ว. (2545). ปัญหาการสอนอ่านย่อความในระดับอุดมศึกษา. วิชาการ, 5(6), 51-58.

วิจารณ์ พานิช. (2558). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จํากัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการอ่านคิดวิเคราะห์เขียนและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

เอมอร เนียมน้อย. (2551). การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1992). The action research planner (3rd ed.). Australia: Deakin University.

Kowalski, R. & Westen, D. (2009). Psychology (5th ed.). Denvers: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite

สู่โนนทอง ก., & ดวงวิไล ด. (2024). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 287–299. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/270899