การจัดการภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • สุธี โนวาง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • เอกพร รักความสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การจัดการ, ภาวะวิกฤต, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาผลกระทบของภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีต่อการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก 2. การบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 3. ตัวแบบในการจัดการภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการจัดการภาวะวิกฤตในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลกระทบของภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโคโรนา 2019 ในด้านเศรษฐกิจได้รับผลกระทบมากที่สุด รวมถึงด้านสุขภาพ และด้านสังคม 2. การบริหารจัดการมีคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ โดยดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล และปัจจัยความสำเร็จได้มาจากประสานงานของทุกภาคส่วน
3. ตัวแบบในการจัดการในภาวะวิกฤต ได้แก่ 1. องค์การมีการจัดระบบระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีการกำหนดหน้าที่ที่ชัดเจน 2. องค์กรมีการวางแผน และการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน และ 3. กระบวนการภายในองค์กร มีการกำหนดรูปแบบการประสานงานภายในองค์กร และประสานงานกับองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนและมาตรการ Endemic การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโคโรนา 2019 สู่โรคประจำถิ่น. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กาญจนาณัฐ ธรรมขัน. (2554). การจัดการแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กิริยา กุลกลการ และคณะ. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อการส่งเสริมการมีงานทำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์. (2565). เศรษฐกิจในประเทศ. สืบค้น 20 มกราคม 2565, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-941377

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และอมเรศ กลิ่นบัวแก้ว. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดกการภาครัฐไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19). วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 27-43.

ปกรณ์ อุดมธนะสารสกุล. (2565). อิทธิพลของนโยบายรัฐบาลและการจัดการภาวะวิกฤตที่มีต่อกลยุทธ์การดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการในจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงวิกฤตของโรคระบาดโคโรนา 2019. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 76-92.

ปรีดา กลิ่นเทศ. (2564). การจัดการของภาครัฐในสภาวะวิกฤตกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โคโรนา 2019). วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 2(3), 190-199.

ปัญญา พละศักดิ์. (2564). รูปแบบการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเมืองจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพ, 14(2), 79-94.

โรงพยาบาลวิชัยเวช. (2565). โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นหรือยัง. สืบค้น 20 มกราคม 2565, จาก https://vichaivej-nongkhaem.com/health-info/โควิด-19เป็นโรคประจำถิ่น

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ไฟล์นำเสนอ: นโยบายเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน. สืบค้น 20 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/A8Lqm

สิรินพรรณ สุขใยพัธน์. (2560). ต้นแบบการบริหารจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์. (2563). แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 15-24.

Korakod, T. et al. (2021). Economic and Social Rehabilitation Management Law Affected by the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Outbreak Under the Sustainable Development. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, 12(12), 3061-3068.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

โนวาง ส., & รักความสุข เ. (2024). การจัดการภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 188–201. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/269825