ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2. ศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครู
ในศตวรรษที่ 21 และ 4. เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 310 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และเทียบสัดส่วนตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.979 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ระดับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.774 4. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 59.80 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ =1.945+0.326X1+0.389X4-0.463X5+0.303X6
References
คาวี เจริญจิตต์ (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45. หน้า 1-3.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57. หน้า 49-53.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น จำกัด.
สิริธัญญ์ ประสุนิงค์. (2559). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
อมรรัตน์ เตชะนอก และคณะ. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 1-15.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
Hoy, W. K. & Miskel, C.G. (2001). Educational Administration: Theory-research practice (4th ed.). Singapore: McGraw-Hill.
Kaplan, L. S. & Owings, W. A. (2001). Teacher quality and student achievement: Recommendations for principals. NASSP bulletin, 85(628), 64-73.
Stewart, M. (2015). The Language of Praise and Criticism in a Student Evaluation Survey. Studies in Educational Evaluation, 45(1), 1-9.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Best & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Reynolds, J. (1998) An Introduction to Applied and Environmental Geophysics. Chichester: John Wiley and Sons, Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น