ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนเอกอโยธยา

ผู้แต่ง

  • วิกานดา เสวตวิหารี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจเลือกโรงเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง ในการเลือกโรงเรียนเอกอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดว่ามีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง ในการเลือกโรงเรียนเอกอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกอโยธยา จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม โดยมีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของสูตร KR20 เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคลากร โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสุงสุด คือ พบว่า ผู้บริหารมีลักษณะความเป็นผู้นำ ผู้บริหารมีควารู้ความสามารถในการบริหารจัดการและมีวิสัยทัศน์ที่ดี ครูมีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมตามหลักวิชาชีพ ผู้บริหารมีการรับฟังปัญหา กล้าเผชิญปัญหา ข้อขัดแย้งต่าง ๆ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และข้อที่มีค่าต่ำสุด คือ ครูมีความรู้ความสามารถประสบการณ์ และคุณสมบัติที่เหมาะสม 2. การตัดสินใจของผู้ปกครองด้านการประเมินผลทางเลือก โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง ทำเลที่ตั้งของโรงเรียนสภาพแวดล้อมของโรงเรียน หลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน และข้อที่มีค่าต่ำสุด คือ เปรียบเทียบค่าเล่าเรียนกับโรงเรียนอื่นที่จัดการศึกษาในมาตรฐานใกล้เคียงกัน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล ทรัพย์วิระปกรณ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

โรงเรียนเอกอโยธยา. (2565). รู้จักโรงเรียน. สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก https://aay.ac.th/know_school/

สโรชิน สุวิสุทธิ์ และคณะ. (2557). โอกาสและอุปสรรคของการศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐานไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555-2564). วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 104-112.

สุวสา ชัยสุรัตน์. (2537). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมหลังการขาย. กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิตการพิมพ์.

Likert, R. (1967). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Wayne, K. H. & Cecil, G. (2013). Transformational leadership theory for educational institution administrators. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

เสวตวิหารี ว. (2024). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนเอกอโยธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 409–421. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/269318