รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางฐานสมรรถนะ

ผู้แต่ง

  • สวพร บุญญผลานันท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พร้อมพิไล บัวสุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุชาดา นันทะไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พลรพี ทุมมาพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ, การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง, การจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางฐานสมรรถนะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพการดำเนินการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางฐานสมรรถนะ 2. พัฒนาองค์ประกอบของปัจจัยและแนวทางการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางฐานสมรรถนะ 3. พัฒนารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางฐานสมรรถนะ เป็นการวิจัยรูปแบบผสานวิธี มีผู้ให้ข้อมูล 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอในรูปแบบความเรียง

ผลจากวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางฐานสมรรถนะ ดำเนินการบนพื้นฐานของโรงเรียนที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ โดยอาศัยมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 2. การพัฒนาองค์ประกอบของปัจจัยและแนวทางการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางฐานสมรรถนะ ภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 3. รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางฐานสมรรถนะ มี 3 องค์ประกอบ คือ 1. แนวคิดหลักของโรงเรียน 2. การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ 3. การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปประเทศ. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

นวพรรณ เชื้ออ่ำ. (2565). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, (12)1, 1-14.

ประจักษ์พงศ์ วรรณโชติ และคณะ. (2559). ไการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรภา, 10(1), 46-57.

ภัทรศักดิ์ สินทระ. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยศวัฒน์ คำภู. (2562). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

_____. (2565). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2564 สภาวการณ์การจัดการศึกษาตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สุธิดา ผาพรม. (2563). การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารการศึกษาไทย, 17(2), 55-60.

Buasuwan, P. et al. (2022). Re-envisioning a “skills framework” to meet 21 st century demands: What do young people need?. Retrieved April 19, 2022, from https://www.frontiersin.org/

MOE-Alberta. (2017). Health and Life Skills Guide to Implementation (K-9). Alberta: Alberta Learning.

OECD. (2015). Education Policy Outlook 2015 : Making Reforms Happen. Paris: OECD Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

บุญญผลานันท์ ส., บัวสุวรรณ พ., นันทะไชย ส., & ทุมมาพันธ์ พ. (2024). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางฐานสมรรถนะ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 226–238. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/269287